วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

LEAN


 

ระบบลีน (LEAN) คือ การปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า พร้อมความสามารถในการปรับตัวเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

กล่าวคือเป็นการใช้ต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และใช้เวลาการผลิตให้สั้นที่สุด เพื่อมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงสุด

ต่อมามีการพัฒนาแนวคิดลีน และนำไปใช้ในสาขาอื่นมากมาย เช่น การพัฒนาซอร์ฟแวร์ (Lean Software Development), สตาร์อัพ (Lean Startup), กระบวนการคิด (Lean Thinking) หรือการจัดการโครงสร้างองค์กร (Lean Organizational Structure)

ทุกแนวคิดลีนจะให้ความสำคัญ 3 ประการที่เหมือนกัน คือ

  • การกำหนดคุณค่าจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก
  • การกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกระบวนการธุรกิจ
  • และการพัฒนากระบวนการทำงาน เป้าหมาย และบุคคลการอย่างต่อเนื่อง\
ความสูญเปล่า (Waste) 8 ประการ

เจฟฟรีย์ ไลเคอร์ (Jeffrey Liker) อธิบายถึงความสูญเปล่า (Waste) ในหนังสือ The Toyota Way ว่ามีดังนี้

  • งานที่ต้องแก้ไข (Defect) – ทำเสร็จแล้ว แต่เสียเวลาแก้ไข
  • การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ (Overproduction) – เปลืองที่จัดเก็บและงบประมาณ
  • การรอคอย (Waiting) – เสียเวลา เสียความรู้สึก
  • ความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Non-utilized Talent) – เกิดจากการไม่รับฟัง ใช้คนไม่เป็น
  • การขนย้ายบ่อย ๆ (Transportation) – ต้องใช้กำลังคนและเวลา
  • สินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory) – เกิดต้นทุนจม เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)  ยิ่งเคลื่อนไหวมาก ยิ่งสูญแรงเปล่า
  • ขั้นตอนซ้ำซ้อน (Excess Processing) – ทำงานมากเกินความจำเป็น
วีธีการจำง่าย ๆ คือนำอักษรอังกฤษตัวแรกของทุกข้อมาเรียงกัน ก็จะได้คำว่า “DOWNTIME” หมายถึง การเสียเวลาเปล่า นั่นเอง

ประโยชน์ของระบบลีน

การใช้ระบบลีนในแต่ละองค์กรจะสร้างคุณค่าที่แตกต่างกันไป แต่ประโยชน์หลักที่ทุกองค์กรจะได้มีทั้งหมด 5 ข้อ คือ

  • ประสิทธิภาพทำงานดีขึ้น – ลีนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานโดยตรง เนื่องจากเป็นการกำจัดความสูญเปล่าของกระบวนการทั้งหมด ทำให้พนักงานได้ทำงานเฉพาะกระบวนการที่มีคุณค่าเท่านั้น
  • ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ – พนักงานไม่ต้องเสียเวลากับกระบวนการที่ไม่จำเป็น ทุกคนจะมีเวลาทำงานมากขึ้นหรือเร็วขึ้น สินค้าและบริการก็จะถึงมือลูกค้าไวขึ้น
  • การบริการลูกค้าดีขึ้น – เพราะลูกค้าคือหัวใจหลักของทุกธุรกิจอยู่แล้ว ระบบลีนจะมุ่งหาความต้องการของลูกค้าจริง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตอบสนองความต้องการอย่างตรงจุด
  • พนักงานมีกำลังใจมากขึ้น – ระบบลีนสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ทำให้พนักงานรู้สึกว่าประสบการณ์และความคิดเห็นของตัวเองมีคุณค่า การรับฟังดังกล่าวจะช่วยให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น
  • ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง – ในกรณีอุตสาหกรรม ถ้าเราผลิตสินค้ามากเกินไปก็จะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ซึ่งการเก็บสินค้าไว้นาน ๆ ก็จะเกิดการสูญเสียคุณภาพได้อีก นับเป็นความสิ้นเปลืองอย่างหนึ่งเหมือนกัน

5 หลักการพื้นฐานของระบบลีน

หลักการพื้นฐานของลีน หรือ Basic Principles of Lean Management มีอยู่ 5 ข้อ คือ

  1. กำหนดคุณค่า (Identify Value)
  2. วางแผนดำเนินงาน (Map The Value Stream)
  3. สร้างขั้นตอนการทำงาน (Create Flow)
  4. ใช้ระบบดึง (Establish Pull)
  5. มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ (Seek Perfection)

บทสรุป

“อะไรก็ตามที่ทำไปแล้วไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าโดยตรง ถือว่าเป็นความสิ้นเปลือง (Waste) ทั้งหมด”

นี่คือประโยคหนึ่งจากหนังสือ LEAN Software Development ที่อธิบายใจความสำคัญได้ดีที่สุด เพราะพื้นฐานของระบบลีนคือการหาคุณค่าที่มีประโยชน์ที่สุดเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะประยุกต์ใช้ระบบลีนการศาสตร์ใดก็ตาม

ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับระบบลีนที่ช่วยแก้ปัญหาในองค์กรได้ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว กระบวนการที่สิ้นเปลืองอาจหมายถึงการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาองค์กร และคำว่า “ประสบความสำเร็จ”​ ก็จะเลือนรางไกลออกไป


ที่มา : https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean-management-210621/

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express https://bsgroupthailand.com/


วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

TQM คืออะไร

 


TQM (Total Quality Management)


Total Quality Management (TQM) คือ การบริหารคุณภาพโดยรวม เป็นแนวทางการจัดการไปสู่ความสำเร็จระยะยาว ด้วยการฟังความพึงพอใจของลูกค้า การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกทุกคนในองค์กร มีส่วนร่วมในการปรับปรุง กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ และบริการด้วย




วัตถุประสงค์

1. เพื่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงาน / คุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคนดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง

2.เพื่อการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ




แนวทางนำ TQM ไปปฎิบัติ


1. ตรวจสอบองค์กรและกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ในขั้นตอนแรก คือ การประเมินองค์กรของตนเองอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา การนำ TQM มาใช้นั้น จะต้องนำมาใช้กับ โครงสร้างปัจจุบันขององค์กร ไม่สามารถลอกสูตรสำเร็จขององค์กรอื่นมาได้ เพราะแต่ละธุรกิจล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว


2. สื่อสารกับพนักงานทุกคน

การสื่อสารกับพนักงาน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะส่วนประกอบสำคัญ คือ สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม และมีหน้าที่ต้องพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้ และสื่อสารแก่พนักงานทุกคน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง จึงมีความจำเป็น รวมถึงผู้บริหารเอง จะได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ปฎิบัติงานด้วย ถือเป็นการสื่อสารสองทาง

3. พัฒนากระบวนการ

ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนในการนำ TQM มาปรับใช้ในองค์กร

  1. Customer Focused คือ การมุ่งเน้นไปที่ลูกค้า
  2. Employee Involvement คือ การที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในองค์กร
  3. Process Centered คือ การบริหารที่มีกระบวนการเป็นศูนย์กลาง
  4. Integrated System คือ การบูรณาการของแต่ละฝ่ายในองค์กร
  5. Strategic and Systematic Approach คือ การวางแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ
  6. Communication คือ การสื่อสารภายในองค์กร
  7. Continuous Improvement คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  8. Fact-based decision คือ การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง


4. พัฒนาข้อผิดพลาดด้วยข้อมูล

สิ่งสำคัญที่สุด ของการส่งมอบคุณภาพ คือ การจัดการกับข้อผิดพลาด ไม่ว่าทุกคนในองค์กร จะมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนคุณภาพเพียงใด องค์กรก็มักจะประสบปัญหาใดปัญหาหนึ่งอยู่เสมอ การจะบรรเทาปัญหาได้ คือ การต้องทราบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น การเก็บข้อมูล และติดตามผลจากการกระทำ จะช่วยสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของ TQM









หากสนใจใช้บริการของทาง BS EXPRESS : https://bsgroupthailand.com/tracking.php
อ้างอิง : 
https://www.gotoknow.org/posts/454678
https://greedisgoods.com/tqm-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-total-quality-management/
https://xn--12clc2e6b0a3bzb5j7c.com/articles/tqm-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD

KAIZEN คืออะไร

 



Kaizen

ไคเซ็น (Kaizen) เป็นแนวคิดในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร หลักการง่ายๆ ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำไคเซ็นมีอยู่ 3 ข้อ นั่นก็คือ เลิก ลด และเปลี่ยน



หลักเลิก ลด เปลี่ยน

การเลิก หมายถึง การตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่สิ้นเปลืองเวลา กำลังคน และวัตถุดิบ

การลด หมายถึง การลดขั้นตอนการทำงานหรือการกระทำที่ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำ ๆ โดยใช่เหตุ

การเปลี่ยน หมายถึง หลังจากพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถเลิกหรือลดกระบวนการใดได้ อาจลองใช้วิธีเปลี่ยนแนวทาง เปลี่ยนกระบวนการ หรือเปลี่ยนทิศทางการดำเนินการใหม่ไปเลย




5W1H

What : หาจุดประสงค์ของการทำงาน : ทำอะไร? ทำไมต้องทำ? ทำอย่างอื่นได้หรือไม่?

Who : หาบุคคลที่เหมาะสมสำหรับงาน : ใครเป็นคนทำ? ทำไมต้องเป็นคนนั้นทำ? คนอื่นทำได้หรือไม่?

When : เวลาในการทำงานที่เหมาะสม : ทำเมื่อไหร่? ทำไมต้องทำตอนนั้น? ทำตอนื่นได้หรือไม่?

Why : หาเหตุผลในการทำงาน

Where : หาสถานที่ทำงานที่เหมาะสม : ทำที่ไหน? ทำไมต้องทำที่นั่น? ทำที่ิอื่นได้หรือไม่?

How : หาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับงาน : ทำอย่างไร? ทำไมต้องทำอย่างนั้น? ทำวิธีอื่นได้หรือไม่?




ECRS

E = Eliminate : ตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป

C = Combine : รวมขั้นตอนการทำงานเข้าด้วยกัน ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

R = Rearrange : จัดลำดับงานใหม่ให้เหมาะสม

S = Simplify : ปรับปรุงวิธีการทำงานหรือสร้างอุปกรณ์ช่วยในการทำงานได้ง่ายขึ้น







หากสนใจใช้บริการของทาง BS EXPRESS : https://bsgroupthailand.com/tracking.php

อ้างอิง : https://www.fusionsol.com/blog/kaizen/
https://www.proindsolutions.com/17424451/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-kaizen-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
https://www.sangchaimeter.com/support_detail/KAIZEN1
https://www.bigqtraining.com/5w1h-5w2h/


5ส คืออะไร



 




ตัวอย่างการใช้ 5 ส. / 5S ในที่ทำงาน


จากภาพจะเห็นว่า ห้องทำงานเดิมเต็มไปด้วยขยะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ปะปนกันไปหมด ซึ่ง 5 ส. เข้ามาจัดระเบียบดังนี้


ส – สะสาง : แยกอุปกรณ์และชั้นวางที่ไม่จำเป็นออกไป เหลือไว้แต่สิ่งที่ใช้งานจริง ๆ เท่านั้น

ส – สะดวก : จัดหมวดหมู่อุปกรณ์โดยแยกประเภทตามชั้นวาง สีกล่อง ฉลาก และตีเส้นพื้นที่สำหรับทำงาน

ส – สะอาด : ทำความสะอาดพื้น โต๊ะ ชั้นวาง อุปกรณ์ และทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น

ส – สุขลักษณะ : สภาพแวดล้อมหลังทำความสะอาดดูปลอดโปร่ง เป็นมาตรฐานสุขลักษณะที่ดี

ส – สร้างนิสัย : หมั่นรักษาความสะอาดในสภาพแวดล้อมนี้เป็นประจำ



เมื่อสถานที่ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อยแบบนี้ ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงาน ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาอุปกรณ์ที่ต้องการ เวลาเกิดปัญหาก็สามารถจัดการได้ทันที และเมื่อเกิดการปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำ ก็จะส่งเสริมการสร้างนิสัยการมีวินัยต่อไป 






วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

TQM (Total Quality Management)


 

Total Quality Management คือ?

TQM : Total Quality Management คือ การบริหารคุณภาพโดยรวม เป็นแนวทางการจัดการไปสู่ความสำเร็จระยะยาว ด้วยการฟังความพึงพอใจของลูกค้า การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ

3 ส่วนประกอบสำคัญของ TQM (Total Quality Management)

  1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)
  2. การพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
  3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

ทำไม Total Quality Management ถึงสำคัญต่อองค์กร

  • สร้างความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้า : จากการที่ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ดีเกินความคาดหวัง
  • ลดค่าใช้จ่าย : การปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น ช่วยลดกิจกรรมที่สูญเปล่าออกจากระบบ
  • สร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร : การใช้ TQM ช่วยในการมีส่วนร่วมและปรับปรุงคุณภาพของพนักงาน
  • เพิ่มรายได้ : รายได้จะเพิ่มขึ้นจากปริมาณลูกค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรายได้เพิ่มขึ้นจากการลดค่าใช้จ่ายลง
TQM สามารถสรุปได้ว่า เป็นระบบจัดการสำหรับองค์กรที่มุ่งเน้นที่ลูกค้า และเกี่ยวเนื่องกับพนักงานทุกคนในฐานะผู้ที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อสินค้าและบริการที่ดีที่สุด โดยใช้กลยุทธ์ด้านข้อมูลและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับการสร้างวินัยที่ผสานเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

ระบบจัดการคุณภาพ

1. มุ่งเน้นที่ลูกค้า : Focus on Customer

2. พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม : Employee Involvement

3. การบริหารที่มีกระบวนการเป็นศูนย์กลาง : Process Centered

4. บูรณาการระบบ : Integrated Systems

5. การวางแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ : Strategic and Systematic Approach

6. ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง : Decision Making Base  on Fact

7. การสื่อสารภายในองค์กร : Communication

8. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง : Continuous Improvement


สรุป

Total Quality Management คือ หนึ่งกระบวนการหรือเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพของสินค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพของบริการ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด ผ่านการพัฒนาของทุกคนในองค์กรอย่างต่อเนื่อง TQM กำหนดให้ทุกคนเป็นคนรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองและทำงานเป็นทีม เพราะองค์กรก็คือความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในองค์กรนั่นเอง





ที่มา : https://www.goodmaterial.co/what-is-total-quality-management/?amp=1

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express https://bsgroupthailand.com/

5 ส.

  



5 ส. 

ความหมายของ 5ส

 กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อ
ปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต
และด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง
สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของ
ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป
สะดวก Seiton (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้
ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที
สะอาด Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่
สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ
สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษา
และปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป
สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ
4ส หรือสิ่งที่ กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย

จุดประสงค์ของการทำ 5ส

  • สร้างประสิทธิภาพในการทำงาน/เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

  • ยกระดับความปลอดภัยให้มากขึ้น

  • เพิ่มแรงจูงใจของพนักงาน

4 ขั้นตอนเพื่อเริ่มกิจกรรม 5ส

1. สร้างระบบ

ก่อนอื่น จำเป็นต้องกำหนดทีมเริ่มต้นเพื่อทำกิจกรรม 5ส รวมทั้งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบภายในทีม 

จะทำให้เกิดการสร้างระบบที่พนักงานทุกคนสามารถแชร์วัตถุประสงค์ นโยบายและกฎต่างๆของหลักการ 5ส ร่วมกันได้ เพื่อที่จะนำ 5ส ไปใช้ในทีมเริ่มต้นได้อย่างราบรื่น แนะนำให้กำหนด 4 ตำแหน่งสำหรับดำเนินการ ดังนี้

  1. ผู้จัดการที่คอยจัดความสมดุลของโปรเจ็ค 5ส กับงานประจำ
  2. หัวหน้าโปรเจ็ค 5ส
  3. ผู้ที่ทำหน้าที่คอยสังเกตการณ์และติดตามความคืบหน้าสถานะของโปรเจ็ค 
  4. ผู้ที่คอยให้คำแนะนำในหน้างาน

2. ตั้งเป้าหมายและจุดประสงค์ให้ชัดเจน

ในการปฏิบัติตามหลัก 5ส หากเราตั้งจุดประสงค์แค่เพื่อ “รักษาความสะอาดในที่ทำงาน” มันอาจจะทำได้ง่าย แต่ทว่าอยากจะให้มองเห็นถึงสิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรมนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น หลักการ 5ส สามารถยกระดับความปลอดภัยและเพิ่มผลผลิตของการทำงาน รวมถึงสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานได้อีก 

3. สร้างกฏเกณฑ์ที่ทำให้เห็นสถานการณ์ปัจจุบันอย่างชัดเจน 

Visualize หรือแจกแจงโปรเซสและโฟลว์การทำงานออกมา ทำความเข้าใจขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด จากนั้นก็ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสมขึ้น แล้วกำหนดกฎเกณฑ์ในการทำงานนั้นๆ ขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำความสะอาด, ช่วงเวลาที่ต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์, ที่ประจำสำหรับวางเครื่องมือ สิ่งของที่จำเป็นและไม่จำเป็นในการทำงาน

4. สร้าง Check Sheet

หากตัดสินใจที่จะดำเนินการ 5ส ให้เป็นกิจวัตรประจำวันผ่านวงจร PDCA แล้ว ควรสร้าง Check sheet ขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจสอบ Check sheet นี้จะช่วยให้พนักงานทุกคนปฎิบัติตามกฏของ 5ส ได้อย่างถูกต้อง

สรุป 

การปฏิบัติตามหลัก 5ส ไม่เพียงแค่ใช้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้สะอาด แต่ยังสามารถเพิ่มแรงจูงใจของพนักงาน เพิ่มปริมาณการผลิตและยกระดับความปลอดภัยในองค์กรได้อีกด้วย หากต้องการปฏิบัติกิจกรรม 5ส ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ แนะนำให้เริ่มดำเนินการไปทีละขั้นตอน พยายามใช้หลักการ 5ส ร่วมกับการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้กับพนักงานภายในองค์กรเป็นวงกว้าง เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ได้มีส่วนร่วมในการวางแผน และลงมือปรับปรุงพื้นที่ ปฏิบัติงานของตนเองเพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างสูงสุด

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทางBS Express :https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=76

อ้างอิง:https://teachme-biz.com/blog/5s-activity/

https://library.rsu.ac.th/library5s/lib5s_policy.html


LEAN

 

LEANคืออะไร

ระบบลีน (LEAN) คือ การปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า พร้อมความสามารถในการปรับตัวเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
กล่าวคือเป็นการใช้ต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และใช้เวลาการผลิตให้สั้นที่สุด เพื่อมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงสุด
ต่อมามีการพัฒนาแนวคิดลีน และนำไปใช้ในสาขาอื่นมากมาย เช่น การพัฒนาซอร์ฟแวร์ (Lean Software Development), สตาร์อัพ (Lean Startup), กระบวนการคิด (Lean Thinking) หรือการจัดการโครงสร้างองค์กร (Lean Organizational Structure)
ทว่าทุกแนวคิดลีนจะให้ความสำคัญ 3 ประการที่เหมือนกัน คือ
  • การกำหนดคุณค่าจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก
  • การกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกระบวนการธุรกิจ
  • และการพัฒนากระบวนการทำงาน เป้าหมาย และบุคคลการอย่างต่อเนื่อง
ความสูญเปล่า (Waste) 8 ประการ

  • งานที่ต้องแก้ไข (Defect) – ทำเสร็จแล้ว แต่เสียเวลาแก้ไข
  • การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ (Overproduction) – เปลืองที่จัดเก็บและงบประมาณ
  • การรอคอย (Waiting) – เสียเวลา เสียความรู้สึก
  • ความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Non-utilized Talent) – เกิดจากการไม่รับฟัง ใช้คนไม่เป็น
  • การขนย้ายบ่อย ๆ (Transportation) – ต้องใช้กำลังคนและเวลา
  • สินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory) – เกิดต้นทุนจม เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)  ยิ่งเคลื่อนไหวมาก ยิ่งสูญแรงเปล่า
  • ขั้นตอนซ้ำซ้อน (Excess Processing) – ทำงานมากเกินความจำเป็น
วีธีการจำง่าย ๆ คือนำอักษรอังกฤษตัวแรกของทุกข้อมาเรียงกัน ก็จะได้คำว่า “DOWNTIME” หมายถึง การเสียเวลาเปล่า นั่นเอง

ประโยชน์ของระบบลีน

  • ประสิทธิภาพทำงานดีขึ้น – ลีนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานโดยตรง เนื่องจากเป็นการกำจัดความสูญเปล่าของกระบวนการทั้งหมด ทำให้พนักงานได้ทำงานเฉพาะกระบวนการที่มีคุณค่าเท่านั้น
  • ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ – พนักงานไม่ต้องเสียเวลากับกระบวนการที่ไม่จำเป็น ทุกคนจะมีเวลาทำงานมากขึ้นหรือเร็วขึ้น สินค้าและบริการก็จะถึงมือลูกค้าไวขึ้น
  • การบริการลูกค้าดีขึ้น – เพราะลูกค้าคือหัวใจหลักของทุกธุรกิจอยู่แล้ว ระบบลีนจะมุ่งหาความต้องการของลูกค้าจริง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตอบสนองความต้องการอย่างตรงจุด
  • พนักงานมีกำลังใจมากขึ้น – ระบบลีนสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ทำให้พนักงานรู้สึกว่าประสบการณ์และความคิดเห็นของตัวเองมีคุณค่า การรับฟังดังกล่าวจะช่วยให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น
  • ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง – ในกรณีอุตสาหกรรม ถ้าเราผลิตสินค้ามากเกินไปก็จะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ซึ่งการเก็บสินค้าไว้นาน ๆ ก็จะเกิดการสูญเสียคุณภาพได้อีก นับเป็นความสิ้นเปลืองอย่างหนึ่งเหมือนกัน

5 หลักการพื้นฐานของระบบลีน

1. กำหนดคุณค่า (Identify Value)

ก่อนอื่นทุกธุรกิจต้องตอบให้ได้ว่า “อะไรคือคุณค่าของบริษัทที่จะมอบให้กับลูกค้า” เพื่อตรวจสอบให้ได้ว่าแล้วจริง ๆ ลูกค้าต้องการคุณค่าอะไรจากบริษัทของเรา นั่นคือโจทย์ที่จะต้องแก้ไข เพื่อทำให้เราสร้างสินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด นำไปสู่การตั้งเป้าหมายที่แท้จริงของบริษัท ซึ่งมีวิธีการได้มามากมาย เช่น สัมภาษณ์ ทำแบบสอบถาม ฯลฯ ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้เราเข้าใจว่า ลูกค้าต้องการอะไรกันแน่

2. วางแผนดำเนินงาน (Map The Value Stream)

เป็นการวางแผนกระบวนการทำงานตามคุณค่าที่เรานิยามไว้ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่สินค้าและบริกาไรไปถึงมือลูกค้า กระบวนการนี้จะทำให้เห็นว่าเราต้องทำอะไรบ้าง อะไรคือขั้นตอนที่จำเป็น อะไรคือขั้นตอนที่ตัดทิ้งได้ ที่สำคัญคือการมองเห็นกระบวนการทั้งหมดว่าใครทำอะไร ทำส่วนไหน ประเมินผลอย่างไร ไปจนถึงกระบวนการพัฒนาปรับปรุง

3. สร้างขั้นตอนการทำงาน (Create Flow)

เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้มั่นใจว่า พนักงานจะทำงานได้อย่างไหลลื่น ต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ผ่านกลยุทธ์ที่จะทำให้พนักงานทำงานได้อย่างราบลื่น

4. ใช้ระบบดึง (Establish Pull)

ระบบดึง (Pull System) คือการทำงานตามความต้องการที่เกิดขึ้นจริง เช่น การทำงานตามออร์เดอร์เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่าด้านการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ หรือเกิดสินค้าคงคลังมากเกินไป กระบวนการนี้จะทำให้การทำงานไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น

5. มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ (Seek Perfection)

ข้อสุดท้ายนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการวัดผลและการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง เพราะการพัฒนาก็คือการไม่ย่ำอยู่กับที่ ฉะนั้นควรหมั่นตรวจสอบเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ปรับปรุง หรือพัฒนากระบวนการทำงานอยู่เสมอ สามารถประยุกต์ใช้เทคนิค PDCA ได้ เพราะสิ่งนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรักษาระบบ LEAN ให้อยู่กับองค์กรต่อไป

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทางBS Express :https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=75

อ้างอิง:https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean-management-210621/


  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...