วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

5 ส.

  



5 ส. 

ความหมายของ 5ส

 กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อ
ปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต
และด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง
สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของ
ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป
สะดวก Seiton (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้
ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที
สะอาด Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่
สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ
สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษา
และปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป
สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ
4ส หรือสิ่งที่ กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย

จุดประสงค์ของการทำ 5ส

  • สร้างประสิทธิภาพในการทำงาน/เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

  • ยกระดับความปลอดภัยให้มากขึ้น

  • เพิ่มแรงจูงใจของพนักงาน

4 ขั้นตอนเพื่อเริ่มกิจกรรม 5ส

1. สร้างระบบ

ก่อนอื่น จำเป็นต้องกำหนดทีมเริ่มต้นเพื่อทำกิจกรรม 5ส รวมทั้งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบภายในทีม 

จะทำให้เกิดการสร้างระบบที่พนักงานทุกคนสามารถแชร์วัตถุประสงค์ นโยบายและกฎต่างๆของหลักการ 5ส ร่วมกันได้ เพื่อที่จะนำ 5ส ไปใช้ในทีมเริ่มต้นได้อย่างราบรื่น แนะนำให้กำหนด 4 ตำแหน่งสำหรับดำเนินการ ดังนี้

  1. ผู้จัดการที่คอยจัดความสมดุลของโปรเจ็ค 5ส กับงานประจำ
  2. หัวหน้าโปรเจ็ค 5ส
  3. ผู้ที่ทำหน้าที่คอยสังเกตการณ์และติดตามความคืบหน้าสถานะของโปรเจ็ค 
  4. ผู้ที่คอยให้คำแนะนำในหน้างาน

2. ตั้งเป้าหมายและจุดประสงค์ให้ชัดเจน

ในการปฏิบัติตามหลัก 5ส หากเราตั้งจุดประสงค์แค่เพื่อ “รักษาความสะอาดในที่ทำงาน” มันอาจจะทำได้ง่าย แต่ทว่าอยากจะให้มองเห็นถึงสิ่งที่จะได้รับจากกิจกรรมนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น หลักการ 5ส สามารถยกระดับความปลอดภัยและเพิ่มผลผลิตของการทำงาน รวมถึงสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานได้อีก 

3. สร้างกฏเกณฑ์ที่ทำให้เห็นสถานการณ์ปัจจุบันอย่างชัดเจน 

Visualize หรือแจกแจงโปรเซสและโฟลว์การทำงานออกมา ทำความเข้าใจขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด จากนั้นก็ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสมขึ้น แล้วกำหนดกฎเกณฑ์ในการทำงานนั้นๆ ขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำความสะอาด, ช่วงเวลาที่ต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์, ที่ประจำสำหรับวางเครื่องมือ สิ่งของที่จำเป็นและไม่จำเป็นในการทำงาน

4. สร้าง Check Sheet

หากตัดสินใจที่จะดำเนินการ 5ส ให้เป็นกิจวัตรประจำวันผ่านวงจร PDCA แล้ว ควรสร้าง Check sheet ขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจสอบ Check sheet นี้จะช่วยให้พนักงานทุกคนปฎิบัติตามกฏของ 5ส ได้อย่างถูกต้อง

สรุป 

การปฏิบัติตามหลัก 5ส ไม่เพียงแค่ใช้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้สะอาด แต่ยังสามารถเพิ่มแรงจูงใจของพนักงาน เพิ่มปริมาณการผลิตและยกระดับความปลอดภัยในองค์กรได้อีกด้วย หากต้องการปฏิบัติกิจกรรม 5ส ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ แนะนำให้เริ่มดำเนินการไปทีละขั้นตอน พยายามใช้หลักการ 5ส ร่วมกับการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้กับพนักงานภายในองค์กรเป็นวงกว้าง เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ได้มีส่วนร่วมในการวางแผน และลงมือปรับปรุงพื้นที่ ปฏิบัติงานของตนเองเพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างสูงสุด

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทางBS Express :https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=76

อ้างอิง:https://teachme-biz.com/blog/5s-activity/

https://library.rsu.ac.th/library5s/lib5s_policy.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...