วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ไคเซ็น


 KAIZEN

ทำความรู้จัก KAIZEN

ไคเซ็น ถือกำเนิดและเติบโตที่ประเทศญี่ปุ่น และเผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยมานานพอสมควรแล้ว แนวคิดนี้ได้รับการตอบรับจากภาพอุตสาหกรรมไทยในฐานะเครื่องมือช่วนในการบริหารให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน จากการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นและทำให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆ

วิธีคิดเพื่อหาทางปรับปรุงตามแนวคิดไคเซ็น (Kai zen)

ระบบคำถาม 5W 1H ซึ่งเป็นการถามคำถามเพื่อวิเคราะห์ หาเหตุผล ในการทำงานตามวิธีเดิม และหาช่องทางปรับปรุงให้ดีขึ้น ด้วย ECRS

5W1H

What : หาจุดประสงค์ของการทำงาน : ทำอะไร? ทำไมต้องทำ? ทำอย่างอื่นได้หรือไม่? Who : หาบุคคลที่เหมาะสมสำหรับงาน : ใครเป็นคนทำ? ทำไมต้องเป็นคนนั้นทำ? คนอื่นทำได้หรือไม่? When : เวลาในการทำงานที่เหมาะสม : ทำเมื่อไหร่? ทำไมต้องทำตอนนั้น? ทำตอนื่นได้หรือไม่? Why : หาเหตุผลในการทำงาน Where : หาสถานที่ทำงานที่เหมาะสม : ทำที่ไหน? ทำไมต้องทำที่นั่น? ทำที่ิอื่นได้หรือไม่? How : หาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับงาน : ทำอย่างไร? ทำไมต้องทำอย่างนั้น? ทำวิธีอื่นได้หรือไม่?

ECRS

E = Eliminate : ตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป 

C = Combine : รวมขั้นตอนการทำงานเข้าด้วยกัน ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

 R = Rearrange : จัดลำดับงานใหม่ให้เหมาะสม 

S = Simplify : ปรับปรุงวิธีการทำงานหรือสร้างอุปกรณ์ช่วยในการทำงานได้ง่ายขึ้น

การใช้หลักการไคเซ็น ระบุว่ามี 7 ขั้นตอน ซึ่งทั้ง 7 ขั้นตอน ปรัชญาในการสร้างคุณภาพของเดมมิ่ง ที่เรียกว่า PDCA (Plan-Do-Check-Action) ที่นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในทุกงานทุกกิจกรรม หรือ ทุกระบบการปฎิบัติงานนั่นเอง ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ อันประกอบด้วย

ค้นหาปัญหา และกำหนดหัวข้อแก้ไขปัญหา วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของปัญหาเพื่อรู้สถานการณ์ของปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุ กำหนดวิธีการแก้ไข สิ่งที่ต้องระบุคือ ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร ใครเป็นคนทำ และทำอย่างไร ลงมือดำเนินการ ตรวจดูผล และผลกระทบต่างๆ และการรักษาสภาพที่แก้ไขแล้วโดยการกำหนดมาตรฐานการทำงาน

กิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) จัดดำเนินตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) มีดังนี้

Plan - การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และ เป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น

Do - การปฎิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่กำหนด ไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง

Act - การปรับปรุงแก้ไขส่วนปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยึดปนวทางปฎิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อใช้ทำงานครั้งต่อไป

Check - การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง แก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด

สรุปง่ายๆไคเซ็น คือ

เปลี่ยนวิธีการ...เปลี่ยนวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก

เปลี่ยนแปลงที่ละเล็กทีละน้อย ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

 รับมือกับความจริง...ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับความเป็นจริงที่มีข้อจำกัด

  หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=72

อ้างอิง:ทำความรู้จัก KAIZEN (sangchaimeter.com)


วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

Time and motion study


Time and motion study
การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา

การศึกษางาน (Work study) หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า การศึกษาการเคลื่อนไหวและ

เวลา (Motion and Time Study) หมายถึง เทคนิดในการวิเคราะห์ขั้นตอนของการปฏิบัติงานเพื่อขจัดงานที่ไม่จำเป็นออก และสรรหาวิธีการทำงานซึ่งดีที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานนั้นๆ รวมถึงการปรับปรุงมาตรฐานของวิธีการทำงาน สภาพการทำงาน เครื่องมือต่างๆ และการฝึกคนงานให้ทำงานด้วยวิธีที่ถูกต้อง รวมทั้งการหาเวลาที่เป็นมาตรฐานในการทำงาน ใช้ในการวัดผลงานเป็นเวลาที่ทำงานได้



มีวัตถุประสงค์ดังนี้


1.พัมนาวิธีการและระบบที่ดีที่สุดในการทำงาน

-เพื่อเอาแรงงาน เครื่องจักร เทคโนโลยี และการขนส่งมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
-เพื่อพัฒนามาตรฐานวิธีการทำงานที่ดีกว่า

2.จัดตั้งระบบและวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน

-กำหนดสภาพเงื่อนไขในการทำงานเพื่อให้ได้มาตรฐานงานที่ตั้งไว้

-ขจัดงานที่ไม่จำเป็นออก และสรรหาวิธีการทำงานซึ่งดีที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานนั้นๆ

3.หาเวลามาตรฐานในการทำงาน
-การศึกษาเวลาโดยตรง คือการใช้การจับเวลาพนักงานที่มีการเลือกไว้แล้ว มาทำการจับเวลา แล้วจึงนำมาหาเวลาทำงานปกติ เวลามาตรฐานต่อไป
-การสุ่มงาน คือการศึกษาเวลาเพื่อให้ได้เวลามาตรฐานจากการสุ่มจับเวลาการทำงานจริงของพนักงานในแผนกนั้นๆ

4.ช่วยในการฝึกอบรมพนักงานให้ทำงานด้วยวิธีที่ถูกต้อง
-การสาธิตด้วยภาพหรือวีดีโอตามคู่มือของแผนกนั้นๆ
-การจูงใจให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เช่น การเพิ่มผลตอบแทนตามผลงานของแต่ละคน



เว็บไซต์บริษัท : https://bsgroupthailand.com/

ที่มา : https://www.slideserve.com/kaycee/time-study
          https://www.slideshare.net/TeeTre/2-38119276
          https://slideplayer.in.th/slide/14868345/

วางแผนก้าวหน้าพาตนเองก้าวไกล

 

การพัฒนาอาชีพ

คือ ความก้าวหน้าหรือการเติบโตของพนักงานในการทำงานการพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีปัจจัยสำคัญคือ การกำหนดเป้าหหมายของอาชีพ ตลอดจนมีการวางแผนทางด้านอาชีพ เพื่อให้ดำเนินไปตามเส้นทางอาชีพ ที่วางทิศทางไปสู่เป้าหมายไว้.

การให้คำปรึกษาเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพ มีดังนี้

  •  องค์กร จะพิจารณาจาก ความสามารถ (Competency) ของพนักงาน ค่านิยมที่พนักงานให้คุณค่า และ ความสำคัญ (Value) ความถนัด ความสนใจ จุดอ่อน – จุดแข็ง เพราะความสามารถของพนักงานจะเป็นแรงส่งที่สำคัญให้เกิดความก้าวหน้าที่สูงขึ้นไป รวมทั้งสนับสนุนให้พนักงานตั้งเป้าหมายในอาชีพ ที่ชัดเจน
  • ระบุโอกาส ช่องทางต่างๆ ที่จะสามารถใช้จุดแข็ง หรือ ข้อเด่นต่างๆ ของพนักงาน เพื่อขับเคลื่อนตนเองไปยังเป้าหมายที่พนักงานคาดหวังไว้ได้
  • ชี้แจงให้เห็นเส้นทางการเติบโตก้าวหน้าในอาชีพ (Career Ladder) และทางเลือกต่างๆ ซึ่งอาจมีการเติบโตทางตรงตามสายอาชีพ (Vertical Move) หรือ ข้ามเส้นอาชีพ (Horizontal Move)
  • ร่วมวางแผน พัฒนา ขีดความสามารถที่จำเป็น (Development Plan) เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าสู่กระบวนการพัฒนาตามแผนที่กำหนด
การมีส่วนร่วมขององค์กรเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ

  • การวางโครงสร้างตำแหน่งงานให้เหมาะสม (Organization Structure)
  • การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Success Plan)
  • การจัดทำเส้นทางอาชีพ (Path)
  • การประเมินผล (Evaluation)
การวางโครงสร้างตำแหน่งงานให้เหมาะสม(Organization Structure)

องค์กรต้องมีการวางแผน การวางตำแหน่งโครงสร้างองค์กร ให้เหมาะสม ชัดเจน ตำแหน่งต้องเหมาะสมกับงาน ไม่ควรขาด ไม่ควรเกิน และ ควรประเมินโครงสร้างอยู่บ่อยๆ เพื่อให้ทราบว่า ปัจจุบัน โครงสร้างองค์กรเหมาะสมอยู่หรือไม่\

การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง(Success Plan)

องค์กรจะต้องมีการบริหารจัดการคนให้ครบตำแหน่งเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิม ซึ่งการวางแผนสืบทอดตำแหน่งจะช่วยให้มีการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดทำเส้นทางอาชีพ (Path)

การจัดทำเส้นทางอาชีพ (Path) ควรทำให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานมองเห็นเส้นทางการทำงานของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เมื่อพนักงานมองเห็นเส้นทางการทำงานของตัวเองชัดเจนนั้น เขาก็จะมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอาชีพของเขาให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้

การประเมินผล(Evaluation)

ตามความเป็นจริง อย่างถูกต้อง และยุติธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน ในการประเมินผล และนำไปสู่ความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเพื่อองค์กร เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานเอง

สรุป

การวางแผนร่วมกันในระดับหนึ่งแล้ว HR หรือฝ่ายบริการทรัพยากรบุคคล ก็จะเป็นตัวกลางในการสร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่ายเห็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้งหัวหน้างาน พนักงาน และองค์กร ซึ่งในระหว่างทีดำเนินการตามแผนนั้น HR ต้องทำหน้าที่กระตุ้น ให้กำลังใจ และ ติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ การบริหารจัดการความก้าวหน้าในอาชีพ ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจที่เขาเติบโตก้าวหน้าด้วยความสามารถของตนเอง

 หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS บีเอส ขนส่ง บริการขนส่งสินค้าภายในและต่างประเทศ | BS Express (bsgroupthailand.com)

อ้างอิงมาจาก : Career การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ พาตนเองก้าวไกล (optimistichr.com)


แนวการการเติบโตในสายงานหรืออาชีพที่ทำ

การพัฒนาอาชีพให้พนักงานเก่งมากกว่าเดิม

การพัฒนานั้นสะท้อนถึงการก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง การพัฒนาด้านอาชีพก็เช่นกันสะท้อนถึงความก้าวหน้าในการทำงานที่แสดงถึงความเติบโตในสายอาชีพของตน

การที่เราพัฒนาอาชีพอยู่เรื่อยๆ นั้นจะทำให้เราสนุกและอยากที่จะเรียนรู้การทำงานอยู่เรื่อยๆ ในขณะเดียวกันก็หาเลี้ยงชีพได้ด้วย และใครที่มีการพัฒนาอาชีพอยู่เสมอก็จะกลายเป็นคนที่มีศักยภาพ ใครๆ ก็อยากให้ร่วมงานด้วย

การพัฒนาอาชีพ (Career Development) คืออะไร

หมายถึง ความก้าวหน้าหรือการเติบโตของพนักงานในการทำงานใดงานหนึ่ง การพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีปัจจัยสำคัญคือ

ปัจจัยสำคัญ

-การกำหนดเป้าหหมายของอาชีพ (Career Goal)

-การวางแผนทางด้านอาชีพ (Career Planning)

-มีการบริหารอาชีพ (Career Management) ที่ดีด้วย

หลักสำคัญที่องค์กรต้องบริหารจัดการการพัฒนาอาชีพ (Career Management) ให้กับพนักงาน

1.การวางโครงสร้างตำแหน่งงานให้เหมาะสม (Organization Structure)

2.วางแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Success Plan) 

3.จัดทำเส้นทางอาชีพ (Career Path) ให้เห็นอย่างชัดเจน 

4.ประเมินผล (Evaluation) ตามความเป็นจริงอย่างถูกต้องและยุติธรรม

ปัจจัยของการพัฒนาอาชีพ (Career Development) ในองค์กร

1.ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factor)

การศึกษา (Education)

2.ปัจจัยขององค์กร (Organization Factor)

2.1.ขนาดของธุรกิจ (Business Scale) 

2.2.นโยบายองค์กร (Organization Policy)

2.3.โครงสร้างขององค์กรและแผนการพัฒนาบุคลากร (Organization Structure & HR Development Planning)

 2.4.หัวหน้างานและฝ่ายบริหาร (Management Sector) 5.สถานการณ์องค์กร (Company Situation)

3.ปัจจัยภายนอกอื่นๆ (Other Factor)

1.นโยบายเศรษฐกิจ (Economic Policy)

2.การปฎิวัติทางอาชีพ (Career Disruption)

3.การบริโภคและผู้บริโภค (Consumption & Consumer)

4 ปัจจัยที่คาดไม่ถึง (Unexpected Factor)

 หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=70

อ้างอิง:https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190510-career-development/


Fulfillment คืออะไร ช่วยธุรกิจออนไลน์จัดการงานหลังบ้าน และบริหารสต๊อกสินค้าให้ดีขึ้นได้จริงไหม ?

Fulfillment คืออะไร ?

ปัจจุบัน Fulfillment หรือคลังสินค้า Fulfillment นับว่าเป็นทางเลือกที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาสำหรับคนที่ทำธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะ ลองนึกภาพตามง่าย ๆ หากคุณเปิดร้านขายสินค้าออนไลน์โดยไม่มีคนผู้ช่วย ก็อาจจะเจอปัญหาเหล่านี้ได้ เช่น รับออเดอร์เอง จนบางครั้งก็อาจเช็คจำนวนสินค้าคงเหลือในคลังผิดพลาดได้ ต้องมานั่งแพ็คสินค้าเอง ออกไปจัดส่งเอง เช็คเลขส่งให้ลูกค้าเอง ก็จะทำให้เกิดความล่าช้า และการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะกลายมาเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำให้ธุรกิจเติบโตช้า ดังนั้นการใช้บริการ Fulfillment จึงช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโต และดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเจ้าของธุรกิจไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องการจัดเก็บ แพ็คของ และส่งของเองอีกต่อไป 

ความหมายของคำว่า Fulfillment ในเชิงธุรกิจ

สำหรับคำว่า Fulfillment แปลว่า ” สมหวัง หรือ การบรรลุเป้าหมาย ” แต่หากพูดถึงในแง่ของการทำธุรกิจ Fulfillment หมายถึง ” การเติมเต็ม (Fulfilled) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ” การที่เรานำคำว่า Fullfillment มาใช้ในเชิงธุรกิจก็เพื่อเปรียบเปรยว่า เป็นการช่วยเติมเต็มการทำงานของธุรกิจและร้านค้าออนไลน์ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เป็นการช่วยอุดช่องโหว่ของธุรกิจ อย่างเช่น การส่งของผิด การใส่ที่อยู่ติดต่อผิด การแพ็คของไม่ทัน ฯลฯ ให้รันต่อไปได้อย่างสะดวก และราบรื่นมากยิ่งขึ้น

บริการ Fulfillment คืออะไร ? มีลักษณะอย่างไร

บริการ Fulfillment คือ บริการคลังสินค้าออนไลน์ หรือคลังสินค้าพร้อมส่ง ที่จะให้บริการรับฝาก เก็บ แพ็ค ส่ง รวมไว้ในที่เดียว ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจ ไม่ใช่เพียงแค่การเป็นคลังจัดเก็บสินค้าแบบเดิมๆ แต่ยังให้บริการครอบคลุมไปถึงการเข้ารับสินค้า เก็บสต๊อกสินค้า แพ็คและจัดส่งสินค้าอย่างครบวงจร เรียกได้ว่าระบบ Fulfillment นั้นเปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยจัดการงานหลังบ้านให้กับธุรกิจทั้งหมด ทำให้ธุรกิจมีเวลาและทรัพยากรต่างๆ เหลือไปทำงานด้านอื่นมากยิ่งขึ้น

หลักการทำงานของคลังสินค้า Fulfillment

คลังสินค้า Fulfillment นั้นเป็นคลังจัดเก็บสินค้าพร้อมจัดส่ง ที่ให้บริการอย่างครบวงจร ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ซึ่งหลักๆ แล้วคลังสินค้าระบบ Fulfillment จะมีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.การเก็บสินค้า (Store)

บริการอย่างแรกของ Fulfillment ก็คือ การจัดเก็บสินค้า โดยที่ธุรกิจไม่ต้องเก็บสินค้า ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าได้ โดยผู้ให้บริการ Fulfillment บางเจ้าจะมีบริการเข้ารับสินค้าถึงที่ พูดง่ายๆ ว่าคุณไม่ต้องขับรถออกมาส่งที่คลังสินค้าของผู้ให้บริการเอง แต่ยังไงก็ต้องลองสอบถามผู้ให้บริการดูก่อน บางเจ้าก็มี บางเจ้าก็ไม่มี แต่ว่าทาง Packhai เรามีบริการเข้ารับสินค้าถึงที่ เพราะเราต้องการให้ท่านสะดวก และลดเวลาการเดินทางในส่วนที่ไม่จำเป็นมากที่สุด

2.การแพ็คสินค้า (Pack)

เมื่อผู้ใช้บริการ Fulfillment เพิ่มออดเดอร์คำสั่งซื้อผ่านระบบ Fulfillment แล้ว ผู้ให้บริการก็จะตรวจสอบออเดอร์ตามที่แจ้งมา และหยิบสินค้าจากคลังสินค้าตามออเดอร์สั่งซื้อ จากนั้นก็จะแพ็คสินค้าเพื่อเตรียมจัดส่งให้ลูกค้าของคุณต่อไป

3.การส่งสินค้า (Ship)

ผู้ให้บริการ Fulfillment จะจัดส่งสินค้าไปตามที่อยู่ของลูกค้า โดยจะมีการคัดแยกช่องทางการจัดส่งเพื่อให้ง่ายต่อการจัดส่งมากขึ้นว่าจัดส่งช่องทางไหน เช่น ไปรษณีย์, Kerry, Flash ฯลฯ จากนั้นจะมีการ Update สถานะการจัดส่งแบบ Realtime ผ่านระบบ เพื่อให้คุณสามารถตรวจเช็คเลข Tracking ของลูกค้าคุณได้

สนใจใช้บริการ Fulfillment กับเรา : https://bsgroupthailand.com/service-detail.php?id=19

อ้างอิงจาก : https://packhai.com/fulfillment/

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...