ความหมายของ TQM
แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ารวมทั้งการสร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่หมู่สมาชิก
วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
- เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าภายใน/ภายนอก
- เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
- เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้สภาวะ การแข่งขันที่รุนแรง
- เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
- เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
- เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ TQM
คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต ของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
ผลที่ได้รับจาก TQM ทำให้การดำเนินงานขององค์กรสูงขึ้น โดย
- สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงขึ้น
- ของเสียเป็นศูนย์
- กำจัดของเสีย
- ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้น่าสนใจมากขึ้น
- บริการหรือส่งของได้เร็วขึ้น
- ลดต้นทุนด้านการผลิต
- พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม
หลักการสำคัญ
1.การมุ่งเน้นที่ลูกค้า หรือการมุ่งเน้นที่คุณภาพ
2.การปรับปรุงกระบวนการ
3.ทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนร่วม
ปัจจัยสนับสนุน
1.ภาวะผู้นำ
2.การศึกษาและฝึกอบรม
3.โครงสร้างองค์กร
4.การติดต่อสื่อสาร
5.การให้รางวัลและการยอมรับ
6.การวัดผลงาน
เสาหลักของ TQM คือ...
การปฏิบัติงานประจำวันให้ดีที่สุด
สามารถทำงานข้ามสายงานได้เป็นอย่างดี
ทำการกระจายนโยบายให้เป็นผลต่อองค์กร
ความล้มเหลวของ TQM
1. บุคลากรไม่รู้จริง
2. ขาดความจริงจังต่อเนื่อง
3. งานประจำล้นมือ
4. คนไทยใจร้อน
5. คนไทยเบื่อง่าย
ทำอย่างไรไม่ให้ TQM ล้มเหลว
- การให้ความรู้ด้านการบริหารคุณภาพอย่างทั่วถึง
- การตั้งเป้าหมายชัดเจน
- การเสริมทักษะใหม่ๆ
- การวางแผนที่ดี
- การเผยแพร่และให้การศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมคุณภาพ
- การเติมสีสันให้กับกิจกรรม
- การทบทวนแผนการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ
- การสรรหาคนเข้าร่วมในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพ
- การสรรหาหัวข้อในการปรับปรุงคุณภาพ
สรุป
TQM จะเป๋นการบริหารองค์กร การปรับปรุงต่อเนื่อง
เพื่อให้ลูกค้าพอใจและได้รับผลกำไรระยะยาว โดยยึดหลักการ สมาชิกทุกคนต้องร่วมมือกัน และคุณภาพชีวิตของพนักงานก็จะดีตามมาด้วย เช่นมีผลงานดี การขยับเลื่อนตำแหน่งก็จะตามมา องค์กรก็จะสูงขึ้นหรือพัฒนาขึ้น หากทุกคนร่วมใจกันสามัคคีกับพัฒนาองค์กร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น