วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

แนวคิดไคเซ็น (Kaizen) คืออะไร ?

 แนวคิดไคเซ็น (Kaizen) คืออะไร ?

 คือ แนวคิดแบบญี่ปุ่น สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เน้นให้พนักงานทุกคนร่วมกันพัฒนาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพงานด้านการผลิตมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานจากการสังเกตของคนที่ทำงานจริง

หัวใจสำคัญของแนวคิดนี้ก็คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ค่อย ๆ พัฒนา ปรับทีละเล็กทีละน้อย แต่เน้นความต่อเนื่องนั่นเอง

Kaizen ดีอย่างไร? ทำไมควรทำ?

  • ‌ผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐานเดิม แต่พัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • ‌ลดการสูญเสีย หรือเกิดของเสียในงานการผลิต
  • ‌เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น 
  • ‌ลดต้นทุนต่าง ๆ ทั้งวัตถุดิบ เวลา แรงงาน ช่วยเพิ่มกำไร
หลักการตามแนวคิดไคเซ็น (Kaizen)

Muda ความสูญเปล่า : จากการขนส่ง การรอ การผลิตมากเกินไป หรือเกิดของเสีย

Mura ความไม่สม่ำเสมอ : วิธีการทำงานหรือปริมาณผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่มีความคงที่

Muri การทำงานเกินกำลัง : ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง เกิดความเครียด อาการล้า

โดยแนวทางหลัก ๆ ที่จะสามารถลด 3M เพื่อมุ่งสู่ประสิทธิภาพที่คาดหวังได้ก็คือ

1.ยึดหลักเลิก-ลด-เปลี่ยน

‌เลิก : เลิกหรือตัดขั้นตอนการทำงานเดิมที่ไม่ได้จำเป็น เพื่อประหยัดเวลา และทำงานได้สะดวกขึ้น 

‌ลด : ลดความซ้ำซ้อนหรือความยุ่งยากในการทำงานที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์

‌เปลี่ยน : เปลี่ยนวิธีทำงาน หรือปรับปรุงบางอย่างในงาน ที่น่าจะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.เน้นประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์

ไคเซ็นเป็นแนวคิดที่เน้นลดความสูญเปล่าที่อาจจะเกิดขึ้นในงาน ด้วยการเปิดโอกาสให้พนักงานเสนอไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาแนวทางการทำงานแบบใหม่ ที่ช่วยแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น.

สรุป

Kaizen เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปสิ่งที่ทำไม่ให้เกิดมูลค่า โดยใช้หลักการ3 M มาวิเคราะห์กับงานนั้นๆ แต่ต้องไม่กระทบหรือทำให้เกิดผลเสียแก่องค์กร ใช้ความคิดสร้างสรรค์มาข่วยแก้ปัญหา รวบรวมข้อมูลและทำการทดลองวัดผลว่าดีหรือไม่.

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทางBS Express : https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=78

อ้างอิง : https://creform.co.th/th/news/what-is-kaizen-karakuri/ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...