วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ทำความรู้จัก Kaizen

 


ไคเซ็น (Kaizen) เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น หมายถึง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงในที่นี้ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ ดีขึ้น จะเรียกว่าเป็นการปรับปรุงให้ดีขึ้นก็ว่าได้ หลักการง่ายๆ ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของการทำไคเซ็นมีอยู่ 3 ข้อ นั่นก็คือ เลิก ลด และเปลี่ยน

วิธีคิดเพื่อหาทางปรับปรุงตามแนวคิดไคเซ็น (Kai zen)

ระบบคำถาม 5W 1H ซึ่งเป็นการถามคำถามเพื่อวิเคราะห์ หาเหตุผล ในการทำงานตามวิธีเดิม และหาช่องทางปรับปรุงให้ดีขึ้น ด้วย ECRS

5W1H

What : หาจุดประสงค์ของการทำงาน : ทำอะไร? ทำไมต้องทำ? ทำอย่างอื่นได้หรือไม่?

Who : หาบุคคลที่เหมาะสมสำหรับงาน : ใครเป็นคนทำ? ทำไมต้องเป็นคนนั้นทำ? คนอื่นทำได้หรือไม่?

When : เวลาในการทำงานที่เหมาะสม : ทำเมื่อไหร่? ทำไมต้องทำตอนนั้น? ทำตอนื่นได้หรือไม่?

Why : หาเหตุผลในการทำงาน

Where : หาสถานที่ทำงานที่เหมาะสม : ทำที่ไหน? ทำไมต้องทำที่นั่น? ทำที่ิอื่นได้หรือไม่?

How : หาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับงาน : ทำอย่างไร? ทำไมต้องทำอย่างนั้น? ทำวิธีอื่นได้หรือไม่?

ECRS

E = Eliminate : ตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป

C = Combine : รวมขั้นตอนการทำงานเข้าด้วยกัน ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

R = Rearrange : จัดลำดับงานใหม่ให้เหมาะสม

S = Simplify : ปรับปรุงวิธีการทำงานหรือสร้างอุปกรณ์ช่วยในการทำงานได้ง่ายขึ้น

การนำ 5W1H ใช้งานร่วมกับ ECRS

การใช้หลักการไคเซ็น ระบุว่ามี 7 ขั้นตอน ซึ่งทั้ง 7 ขั้นตอน ดังกล่าวนี้ กล่าวได้ว่าเป็นวิธีการเชิงระบบ (System approach) หรือปรัชญาในการสร้างคุณภาพของเดมมิ่ง ที่เรียกว่า PDCA (Plan-Do-Check-Action) ที่นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในทุกงานทุกกิจกรรม หรือ ทุกระบบการปฎิบัติงานนั่นเอง ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ อันประกอบด้วย

  1. ค้นหาปัญหา และกำหนดหัวข้อแก้ไขปัญหา
  2. วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของปัญหาเพื่อรู้สถานการณ์ของปัญหา
  3. วิเคราะห์หาสาเหตุ
  4. กำหนดวิธีการแก้ไข สิ่งที่ต้องระบุคือ ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร
  5. ใครเป็นคนทำ และทำอย่างไร
  6. ลงมือดำเนินการ
  7. ตรวจดูผล และผลกระทบต่างๆ และการรักษาสภาพที่แก้ไขแล้วโดยการกำหนดมาตรฐานการทำงาน

กิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) จัดดำเนินตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) มีดังนี้

  • Act - การปรับปรุงแก้ไขส่วนปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยึดปนวทางปฎิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อใช้ทำงานครั้งต่อไป
  • Plan - การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และ เป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น
  • Do - การปฎิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่กำหนด ไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
  • Check - การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง แก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด

เมื่อใดวางแผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อนวนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA

ไคเซ็น ไม่ใช่งานส่วนเกินนอกเหนือจากงานประจำ ไคเซ็น คือการลดขั้นตอนส่วนเกินแต่ลดจากเรื่องที่ไม่จำเป็นดว้ยการเปลี่ยน วิธีการทำงาน ทำด้วยความตั้งใจจริง

ไคเซ็น คือ

  1. เปลี่ยนวิธีการ...เปลี่ยนวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก
  2. เปลี่ยนแปลงที่ละเล็กทีละน้อย ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
  3. รับมือกับความจริง...ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับความเป็นจริงที่มีข้อจำกัด

ที่มา : https://www.sangchaimeter.com/support_detail/KAIZEN1

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express https://bsgroupthailand.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...