วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

LEAN

 

LEANคืออะไร

ระบบลีน (LEAN) คือ การปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า พร้อมความสามารถในการปรับตัวเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
กล่าวคือเป็นการใช้ต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และใช้เวลาการผลิตให้สั้นที่สุด เพื่อมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงสุด
ต่อมามีการพัฒนาแนวคิดลีน และนำไปใช้ในสาขาอื่นมากมาย เช่น การพัฒนาซอร์ฟแวร์ (Lean Software Development), สตาร์อัพ (Lean Startup), กระบวนการคิด (Lean Thinking) หรือการจัดการโครงสร้างองค์กร (Lean Organizational Structure)
ทว่าทุกแนวคิดลีนจะให้ความสำคัญ 3 ประการที่เหมือนกัน คือ
  • การกำหนดคุณค่าจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก
  • การกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกระบวนการธุรกิจ
  • และการพัฒนากระบวนการทำงาน เป้าหมาย และบุคคลการอย่างต่อเนื่อง
ความสูญเปล่า (Waste) 8 ประการ

  • งานที่ต้องแก้ไข (Defect) – ทำเสร็จแล้ว แต่เสียเวลาแก้ไข
  • การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ (Overproduction) – เปลืองที่จัดเก็บและงบประมาณ
  • การรอคอย (Waiting) – เสียเวลา เสียความรู้สึก
  • ความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Non-utilized Talent) – เกิดจากการไม่รับฟัง ใช้คนไม่เป็น
  • การขนย้ายบ่อย ๆ (Transportation) – ต้องใช้กำลังคนและเวลา
  • สินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory) – เกิดต้นทุนจม เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)  ยิ่งเคลื่อนไหวมาก ยิ่งสูญแรงเปล่า
  • ขั้นตอนซ้ำซ้อน (Excess Processing) – ทำงานมากเกินความจำเป็น
วีธีการจำง่าย ๆ คือนำอักษรอังกฤษตัวแรกของทุกข้อมาเรียงกัน ก็จะได้คำว่า “DOWNTIME” หมายถึง การเสียเวลาเปล่า นั่นเอง

ประโยชน์ของระบบลีน

  • ประสิทธิภาพทำงานดีขึ้น – ลีนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานโดยตรง เนื่องจากเป็นการกำจัดความสูญเปล่าของกระบวนการทั้งหมด ทำให้พนักงานได้ทำงานเฉพาะกระบวนการที่มีคุณค่าเท่านั้น
  • ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ – พนักงานไม่ต้องเสียเวลากับกระบวนการที่ไม่จำเป็น ทุกคนจะมีเวลาทำงานมากขึ้นหรือเร็วขึ้น สินค้าและบริการก็จะถึงมือลูกค้าไวขึ้น
  • การบริการลูกค้าดีขึ้น – เพราะลูกค้าคือหัวใจหลักของทุกธุรกิจอยู่แล้ว ระบบลีนจะมุ่งหาความต้องการของลูกค้าจริง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตอบสนองความต้องการอย่างตรงจุด
  • พนักงานมีกำลังใจมากขึ้น – ระบบลีนสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ทำให้พนักงานรู้สึกว่าประสบการณ์และความคิดเห็นของตัวเองมีคุณค่า การรับฟังดังกล่าวจะช่วยให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น
  • ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง – ในกรณีอุตสาหกรรม ถ้าเราผลิตสินค้ามากเกินไปก็จะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ซึ่งการเก็บสินค้าไว้นาน ๆ ก็จะเกิดการสูญเสียคุณภาพได้อีก นับเป็นความสิ้นเปลืองอย่างหนึ่งเหมือนกัน

5 หลักการพื้นฐานของระบบลีน

1. กำหนดคุณค่า (Identify Value)

ก่อนอื่นทุกธุรกิจต้องตอบให้ได้ว่า “อะไรคือคุณค่าของบริษัทที่จะมอบให้กับลูกค้า” เพื่อตรวจสอบให้ได้ว่าแล้วจริง ๆ ลูกค้าต้องการคุณค่าอะไรจากบริษัทของเรา นั่นคือโจทย์ที่จะต้องแก้ไข เพื่อทำให้เราสร้างสินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด นำไปสู่การตั้งเป้าหมายที่แท้จริงของบริษัท ซึ่งมีวิธีการได้มามากมาย เช่น สัมภาษณ์ ทำแบบสอบถาม ฯลฯ ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้เราเข้าใจว่า ลูกค้าต้องการอะไรกันแน่

2. วางแผนดำเนินงาน (Map The Value Stream)

เป็นการวางแผนกระบวนการทำงานตามคุณค่าที่เรานิยามไว้ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่สินค้าและบริกาไรไปถึงมือลูกค้า กระบวนการนี้จะทำให้เห็นว่าเราต้องทำอะไรบ้าง อะไรคือขั้นตอนที่จำเป็น อะไรคือขั้นตอนที่ตัดทิ้งได้ ที่สำคัญคือการมองเห็นกระบวนการทั้งหมดว่าใครทำอะไร ทำส่วนไหน ประเมินผลอย่างไร ไปจนถึงกระบวนการพัฒนาปรับปรุง

3. สร้างขั้นตอนการทำงาน (Create Flow)

เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้มั่นใจว่า พนักงานจะทำงานได้อย่างไหลลื่น ต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ผ่านกลยุทธ์ที่จะทำให้พนักงานทำงานได้อย่างราบลื่น

4. ใช้ระบบดึง (Establish Pull)

ระบบดึง (Pull System) คือการทำงานตามความต้องการที่เกิดขึ้นจริง เช่น การทำงานตามออร์เดอร์เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่าด้านการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ หรือเกิดสินค้าคงคลังมากเกินไป กระบวนการนี้จะทำให้การทำงานไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น

5. มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ (Seek Perfection)

ข้อสุดท้ายนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการวัดผลและการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง เพราะการพัฒนาก็คือการไม่ย่ำอยู่กับที่ ฉะนั้นควรหมั่นตรวจสอบเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ปรับปรุง หรือพัฒนากระบวนการทำงานอยู่เสมอ สามารถประยุกต์ใช้เทคนิค PDCA ได้ เพราะสิ่งนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรักษาระบบ LEAN ให้อยู่กับองค์กรต่อไป

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทางBS Express :https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=75

อ้างอิง:https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean-management-210621/


แนวคิดแบบลีน (Lean)

 แนวคิดแบบลีน (Lean) คืออะไร

“การลด” ตั้งแต่ต้นทุน ลดคนทำงาน ไปจนถึงลดขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ภายใต้เงื่อนไขเรื่องประสิทธิภาพ

Lean Manufacturing คืออะไร

     คือ แนวคิดการดำเนินงาน โดยการตัดหรือลีนสิ่งไม่จำเป็นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด หรือที่เรียกว่าการลด “Wastes” หรือ ความสูญเปล่าในการดำเนินงานออกไป

หลัก 5 ประการของ Lean

  1. กำหนดเป้าหมายและคุณค่า (Define Value)                                                              ประการแรก คือการหาคำตอบให้ชัดเจนถึงคุณค่าของสิ่งที่บริษัทต้องการทำ การมองหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากสินค้าหรือบริการขององค์กร ซึ่งสามารถหาคำตอบได้หลากหลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ ทำแบบสอบถาม สังเกตพฤติกรรม
     2.วางแผนดำเนินงาน (Map The Value Stream)

      การวางแผนดำเนินงาน จากนั้นจึงแตกประเด็นและเนื้องานในการดำเนินงานออกมาเป็นส่วน ๆ ในขั้นตอนนี้จะทำให้เห็นว่ามีอะไรในกระบวนการที่ไม่จำเป็นบ้าง สิ่งนี้จะเรียกว่า ความสูญเปล่า หรือ Waste นั่นเอง สามารถแบ่งความสูญเปล่าเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ     
  • Non-valued added but necessary คือ ความสูญเปล่าเนื่องจากไม่มีคุณค่า แต่จำเป็นสำหรับการดำเนินงาน
  • Non-value & unnecessary คือ ความสูญเปล่าเนื่องจากไม่มีคุณค่าและไม่จำเป็นสำหรับการดำเนินงาน  
     3. สร้างขั้นตอนการดำเนินงาน (Create Flow)
     คือ การออกแบบขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสม ให้งานออกมาอย่างราบรื่น โดยเน้นที่ขั้นตอนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวัตถุประสงค์ จบงานได้ไวแบบไม่สะดุด 
    4. การผลิตแบบทันเวลา (Establish Pull)
     คือการผลิตแบบทันเวลาพอดี ซึ่งหมายถึงการหาทางเพื่อจะได้ผลิตสินค้าตามความต้องการจริงของลูกค้า ไม่จำเป็นต้องค้างสต็อกเอาไว้จำนวนมาก ซึ่งทำให้เพิ่มทั้งต้นทุนวัตถุดิน พื้นที่จัดเก็บ แรงงาน และเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการ ส่วนนี้จะช่วยให้ลดความสูญเปล่าได้

    5. วัดผลความสมบูรณ์แบบ (Pursue Perfection)

     ประการสุดท้ายเป็นเรื่องของการวัดผลการทำงาน เมื่อจัดการสะสางทำงานด้วยระบบใหม่ เน้นลดเน้น Lean แล้ว ผลเป็นไปตามที่ตั้งไว้หรือไม่ มีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือทำได้ดีกว่าเดิม

ความสูญเปล่า 7 ประการ (7 wastes) ของแนวคิดแบบลีน (Lean) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1.  งานทีไม่มีคุณภาพ (Defect) เป็นงานที่ไม่มีคุณภาพ ของเกิดเป็นของเสียในระหว่างการผลิตหรือระหว่างการทำงาน ทำให่เสียต้นทุนและเวลา
  2. ขั้นตอนซ้ำซ้อน (Excess Processing) แนวคิดแบบลีนคือการกำจัดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันออกไป เพื่อให้ได้งานที่รวดเร็วและเพิ่มความคล่องตัวให้คนทำงาน
  3. ความสูญเสียจากขั้นตอนการขนส่ง (Transportation) จำเป็นต้องลดส่วนนี้ลง โดยการสร้างโรงงานในเขตพื้นที่เดียวกัน หรือตั้งโรงงานใกล้คลังสินค้า เพื่อย่นระยะเวลาและค่าขนส่ง
  4. การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ (Overproduction) อะไรที่มากเกินไปก็ควร Lean ออก นอกจากจะเสียเวลาในการผลิตแล้ว ยังเสียพื้นที่จัดเก็บ เสียกำลังแรงงานอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนั้นนับเป็นต้นทุนที่องค์กรต้องจ่าย
  5. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion) วิธีการบางสิ่งที่ไม่จำเป็น ใช้เวลามากไป บางอย่างจบได้โดยไม่ต้องใช้หลายฝ่ายตรวจสอบ
  6. การรอคอย (Waiting)  เป็นต้นทุกที่มีค่า ทุกการรอคอยที่กินเวลานาน ไม่ว่าจะเกิดการล่าช้าในเรื่องอะไรก็ตาม ต้องลีนออกเพื่อให้ได้เวลากลับมามากที่สุด
  7. สินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory) ผลิตสินค้าจำนวนมาก เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ถูกลง โดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าจริง ๆ ว่าไปในทางเดียวกันไหม ทำให้เสียพื้นที่จัดเก็บรวมถึงเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาของ

ประโยชน์ของแนวคิดแบบลีน (Lean)

  1. ลดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่าย
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  3. สินค้าตอบโจทย์ตรงใจลูกค้า
  4. ใช้วัตถุดิบได้เกิดประโยชน์สูงสุด

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทางBS Express :  https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=74


วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

หลักแนวคิด LEAN




LEAN

การจัดการแบบลีน (LEAN) หมายถึงการปรับการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า พร้อมความสามารถในการปรับตัวเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง



8 Waste สาเหตุความสูญเปล่าของธุรกิจ


Waste หรือ ความสูญเปล่า คือ การทำสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ซึ่งมีอีกชื่อที่รู้จักกันทั่วไป คือ “DOWNTIME”




DOWNTIME

Defect
งานที่ต้องแก้ไข งานที่ใช้ไม่ได้ ทำงานเสร็จเรียบร้อยแต่ต้องกลับมาแก้ไขอีกครั้ง เช่น กรอกข้อมูลผิด ทำเอกสารไม่เรียบร้อย


Overproduction
กระบวนการผลิตมากเกินความต้องการ ส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น เช่น มีของในคลังมากเกิน


Waiting
การรอคอย ความล่าช้าของกระบวนการทำงาน เช่น ขนส่งล่าช้า เครื่องจักรเสีย


Non-utilized talent
ใช้คนไม่ตรงกับงาน คือ การที่ไม่สามารถใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ได้เต็มประสิทธิภาพ

transportation
การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ หรือสินค้า โดยไม่จำเป็น เช่น ขนส่งซ้ำซ้อน ขนส่งหลายครั้ง ขนส่งผิดพลาด

Inventory
มีการเก็บ Stock วัตถุดิบ หรือ Stock สินค้ามากเกินความจำเป็น เช่น มีวัสดุที่ไม่จำเป็น หรืออุปกรณ์

ที่ไม่ได้ใช้งาน


Motion
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในการทำงาน เช่น การออกแบบพื้นที่ในการทำงาน เช่น พื้นที่แคบ อึดอัด ขยับตัวลำบาก


Extra-processing
มีขั้นตอนที่มากเกินจำเป็น ไม่มีเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงาน เช่น ขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ขั้นตอนเยอะ การทำซ้ำ




ลีนให้ความสำคัญ 3 อย่าง

  1. การกำหนดคุณค่าจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก
  2. การกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกระบวนการธุรกิจ
  3. และการพัฒนากระบวนการทำงาน เป้าหมาย และบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง




https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean-management-210621/


https://www.nairienroo.com/8wastesinbusiness/

https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean-management-210621/DOWNTIME


DOWNTIME

 


 

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

หลักการ 5 ส.



 หลักการ 5 ส.

5 ส. คืออะไร ???

คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ทำไมต้องทำ 5 ส.

เพราะ 5 ส. เป็นเครื่องมือที่สร้างความระเบียบเรียบร้อยในองค์กร ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ใคร ๆ และสร้างความปลอดภัยกับองค์กร

ประโยชน์และความสำคัญของการใช้ 5 ส.

  • ลดการสูญหายของอุปกรณ์และเอกสารต่าง ๆ
  • สร้างความประทับใจให้แก่คนอื่นที่เข้ามาในพื้นที่
  • เพิ่มพื้นที่การทำงาน ลดพื้นที่จัดเก็บ
  • เพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานจากสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร
  • เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงาน
  • ลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงในการทำงาน

องค์ประกอบ 5 ส. มีดังนี้

ส – สะสาง (Seiri หรือ Sort)

เริ่มต้นแยกสิ่งที่ต้องการจัดระเบียบให้ชัดเจนระหว่าง “สิ่งจำเป็น” และ “สิ่งไม่จำเป็น” ให้อยู่เป็นหมวดหมู่ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือไม่

ส – สะดวก (Seiton หรือ Set in Order)

การนำมาวางในพื้นที่ที่หยิบใช้งานง่าย อาจทำป้ายระบุว่าคืออะไร อยู่หมวดหมู่ไหน หรือเก็บไว้ตรงไหน

ส – สะอาด (Seiso หรือ Shine)

คือการทำความสะอาดเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่ารื่นรมย์และน่าทำงาน สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อจิตใจพนักงานในรู้สึกดี คือการทำความสะอาด

ส – สุขลักษณะ (Seiketsu หรือ Standardize)

สุขลักษณะเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ 3 ส. แรก เราจึงควรปรึกษาหารือว่าอะไรคือมาตรฐานสุขลักษณะที่พนักงานต้องการ เพื่อที่ว่าทุกคนจะได้ปฏิบัติรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามมาตรฐานนั้น ๆ

ส – สร้างนิสัย (Shitsuke หรือ Sustain)

ส. ตัวสุดท้ายมุ่งไปที่การสร้างระเบียบวินัย หรือสร้างให้เกิดนิสัยขึ้นมาจริง ๆ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและยากที่สุด เพราะคำว่า “นิสัย” ไม่ได้ขึ้นเกิดแค่การทำเพียงครั้งเดียว แต่เกิดจากการหมั่นปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำจนกลายเป็นเรื่องปกติ

สรุปการทำ 5 ส.

“A place for everything , and everything in its place”

“มีพื้นที่สำหรับทุกสิ่ง และมีทุกสิ่งภายในพื้นที่”

หลักการ 5 ส. จึงเป็นก้าวแรกที่จะวางรากฐานให้องค์กรของคุณมีระบบระเบียบที่ชัดเจน

การทำ 5 ส. จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน พัฒนาคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น

 หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=73

อ้างอิงมาจาก 5 ส. / 5S คืออะไร มีอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่างการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร | HREX.asia (hrnote.asia)

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...