วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

แนวคิดแบบลีน (Lean)

 แนวคิดแบบลีน (Lean) คืออะไร

“การลด” ตั้งแต่ต้นทุน ลดคนทำงาน ไปจนถึงลดขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ภายใต้เงื่อนไขเรื่องประสิทธิภาพ

Lean Manufacturing คืออะไร

     คือ แนวคิดการดำเนินงาน โดยการตัดหรือลีนสิ่งไม่จำเป็นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด หรือที่เรียกว่าการลด “Wastes” หรือ ความสูญเปล่าในการดำเนินงานออกไป

หลัก 5 ประการของ Lean

  1. กำหนดเป้าหมายและคุณค่า (Define Value)                                                              ประการแรก คือการหาคำตอบให้ชัดเจนถึงคุณค่าของสิ่งที่บริษัทต้องการทำ การมองหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากสินค้าหรือบริการขององค์กร ซึ่งสามารถหาคำตอบได้หลากหลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ ทำแบบสอบถาม สังเกตพฤติกรรม
     2.วางแผนดำเนินงาน (Map The Value Stream)

      การวางแผนดำเนินงาน จากนั้นจึงแตกประเด็นและเนื้องานในการดำเนินงานออกมาเป็นส่วน ๆ ในขั้นตอนนี้จะทำให้เห็นว่ามีอะไรในกระบวนการที่ไม่จำเป็นบ้าง สิ่งนี้จะเรียกว่า ความสูญเปล่า หรือ Waste นั่นเอง สามารถแบ่งความสูญเปล่าเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ     
  • Non-valued added but necessary คือ ความสูญเปล่าเนื่องจากไม่มีคุณค่า แต่จำเป็นสำหรับการดำเนินงาน
  • Non-value & unnecessary คือ ความสูญเปล่าเนื่องจากไม่มีคุณค่าและไม่จำเป็นสำหรับการดำเนินงาน  
     3. สร้างขั้นตอนการดำเนินงาน (Create Flow)
     คือ การออกแบบขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสม ให้งานออกมาอย่างราบรื่น โดยเน้นที่ขั้นตอนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวัตถุประสงค์ จบงานได้ไวแบบไม่สะดุด 
    4. การผลิตแบบทันเวลา (Establish Pull)
     คือการผลิตแบบทันเวลาพอดี ซึ่งหมายถึงการหาทางเพื่อจะได้ผลิตสินค้าตามความต้องการจริงของลูกค้า ไม่จำเป็นต้องค้างสต็อกเอาไว้จำนวนมาก ซึ่งทำให้เพิ่มทั้งต้นทุนวัตถุดิน พื้นที่จัดเก็บ แรงงาน และเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการ ส่วนนี้จะช่วยให้ลดความสูญเปล่าได้

    5. วัดผลความสมบูรณ์แบบ (Pursue Perfection)

     ประการสุดท้ายเป็นเรื่องของการวัดผลการทำงาน เมื่อจัดการสะสางทำงานด้วยระบบใหม่ เน้นลดเน้น Lean แล้ว ผลเป็นไปตามที่ตั้งไว้หรือไม่ มีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือทำได้ดีกว่าเดิม

ความสูญเปล่า 7 ประการ (7 wastes) ของแนวคิดแบบลีน (Lean) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1.  งานทีไม่มีคุณภาพ (Defect) เป็นงานที่ไม่มีคุณภาพ ของเกิดเป็นของเสียในระหว่างการผลิตหรือระหว่างการทำงาน ทำให่เสียต้นทุนและเวลา
  2. ขั้นตอนซ้ำซ้อน (Excess Processing) แนวคิดแบบลีนคือการกำจัดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันออกไป เพื่อให้ได้งานที่รวดเร็วและเพิ่มความคล่องตัวให้คนทำงาน
  3. ความสูญเสียจากขั้นตอนการขนส่ง (Transportation) จำเป็นต้องลดส่วนนี้ลง โดยการสร้างโรงงานในเขตพื้นที่เดียวกัน หรือตั้งโรงงานใกล้คลังสินค้า เพื่อย่นระยะเวลาและค่าขนส่ง
  4. การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ (Overproduction) อะไรที่มากเกินไปก็ควร Lean ออก นอกจากจะเสียเวลาในการผลิตแล้ว ยังเสียพื้นที่จัดเก็บ เสียกำลังแรงงานอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนั้นนับเป็นต้นทุนที่องค์กรต้องจ่าย
  5. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion) วิธีการบางสิ่งที่ไม่จำเป็น ใช้เวลามากไป บางอย่างจบได้โดยไม่ต้องใช้หลายฝ่ายตรวจสอบ
  6. การรอคอย (Waiting)  เป็นต้นทุกที่มีค่า ทุกการรอคอยที่กินเวลานาน ไม่ว่าจะเกิดการล่าช้าในเรื่องอะไรก็ตาม ต้องลีนออกเพื่อให้ได้เวลากลับมามากที่สุด
  7. สินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory) ผลิตสินค้าจำนวนมาก เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ถูกลง โดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าจริง ๆ ว่าไปในทางเดียวกันไหม ทำให้เสียพื้นที่จัดเก็บรวมถึงเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาของ

ประโยชน์ของแนวคิดแบบลีน (Lean)

  1. ลดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่าย
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  3. สินค้าตอบโจทย์ตรงใจลูกค้า
  4. ใช้วัตถุดิบได้เกิดประโยชน์สูงสุด

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทางBS Express :  https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=74


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...