วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

Time and Motion Study / Work Study (แชมป์)


Time and Motion Study 

การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว

Time and Motion Study คืออะไร???

Time and Motion Study คือ การศึกษาเวลาเพื่อให้ได้เวลามาตรฐานหรือเทคนิคการวิเคราะห์การปฏิบัติงานเพื่อขจัดการเคลื่อนไหว

ปัญหาหลักๆแบ่งออกเป็น 4 ประการ ดังนี้

1.ไม่มีการกําหนดวิธีการทํางานที่เหมาะสมหรือเป็นมาตรฐาน

2.มีวิธีการทํางานที่ไม่ถูกต้อง

3.ไม่มีความต่อเนื่องในกระบวนการผลิต

4.การจัดการสถานที่และอุปกรณ์ช่วยยังไม่ดี

การวิเคราะห์ความเคลื่อนไหว (Motion Analysis)

1.การสํารวจการปฏิบัติงานที่กําลังพิจารณาเบื้องต้น

2.เลือกงานและระดับของการวิเคราะห์งานที่เหมาะสม

3.พูดคุยกับผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้างาน และผู้ที่มีความคุ้นเคยกับการปฏิบัติงานคนอื่นๆ และรับฟังข้อเสนอแนะจากบุคคลเหล่านั้น

4.อธิบายและประเมินวิธีการทํางานปัจจุบัน

5.ประยุกต์การวางท่าทางในการทํางาน (Attitude)

6.เปรียบเทียบวิธีการใหม่ที่ถูกนําเสนอ และขอความเห็นจากหัวหน้างาน

7.ดัดแปลงวิธีการที่ถูกนําเสนอหลังจากมีการทบทวนรายละเอียดกับผู้ปฏิบัติงานและหัวหน้างาน

8.ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในการทดลองปฏิบัติตามวิธีการที่ถูกนําเสนอจากนั้นประเมินและดัดแปลงปรับปรุง

9.ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดและกําหนดวิธีการทํางานใหม่ให้เป็นวิธีมาตรฐาน

10.ตรวจสอบวิธีมาตรฐานเหล่านั้นเป็นประจําเพื่อมั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ

การศึกษาเวลา (Time Study) 

คือการหาเวลาที่เป็นมาตรฐานในการทำงาน

ประเภทของวิธีการศึกษาเวลา (Time Study)

1.การศึกษาเวลาโดยตรง

2.การสุ่มงาน (Sampling)

3.การใช้ข้อมูลเวลามาตรฐานและสูตร (Standard Data and Formulas)

4.การใช้ระบบหาเวลาก่อนล่วงหน้าหรือการสังเคราะห์เวลา (Predetermined Tim)

ประโยชน์ของ Motion and time study

เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความสูญเปล่า ทั้ง ด้านเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงาน และเพิ่มผลผลิตในการทำงาน

สรุป

การทํางานใหม่ที่ได้จากการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวนั้นสามารถช่วยแก้ไข ปัญหาการผลิตสินค้าไม่ทันเวลา จากประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

work study

โดยจะเป็นการศึกษาวิธีการทำงานที่มีอยู่เดิมและใช้หลักการปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ที่ดีกว่าเดิม ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ความสูญเสียน้อยลง และต้นทุนการผลิตต่ำลง

การศึกษาวิธีการทำงาน (Method Study)

หมายถึงการศึกษาวิธีการทำงานจากการบันทึก และวิเคราะห์วิธีการทำงานขององค์การที่กำลังทำอยู่ เพื่อเสนอวิธีการทำงานแบบใหม ่ ่อย่างมีระบบ ่ และประยุกต์ใช่เป็นเครื่องมือในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ขั้นตอนของการศึกษาวิธีการทำงานพอสรุปได้ดังนี้

a) การเลือกงาน

b) การเก็บข้อมูลวิธีการทำงาน

c) การวิเคราะห์วิธีการทำงาน

d) การปรับปรุงวิธีการทำงาน

e) การเปรียบเทียบวัดผลวิธีการทำงาน

f) การพัฒนามาตรฐานวิธีการทำงาน

g) การส่งเสริมใช้วิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้ว

h) การติดตามการใช้วิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้ว

เทคนิคการวัดผลงาน (Work Measurement)

ใช้ได้ง่ายกระบวนการไม่ซับซ้อนและ ข้อมูลการวัดผลงานมีความน่าเชื่อถือมากคือ เทคนิคการศึกษาเวลา (Time Study) จะมุ่ง ในการกำหนดหาเวลามาตรฐานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าจ้างแรงงานที่ยุติธรรมในแผนการจ่ายเงินจูงใจ ต่อมาจึงได้มีการขยายขอบเขตการใช้งานและเป็ นประโยชน์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย

   หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express  บีเอส ขนส่ง บริการขนส่งสินค้าภายในและต่างประเทศ | BS Express (bsgroupthailand.com)

                                      อ้างอิงมาจาก : Time_motion.pdf

                                                                     inma30955kt_ch2.pdf

                                                            Time-motion.pdf


time-motion study/work study

TIME-MOTION STUDY

การศึกษาการเคลื่อนไหว (Motion Study)

เป็นการวิเคราะห์ขั้นตอนของการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงานรวมทั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และการวางผังในการปฏิบัติงานนั้น ๆ

การศึกษาเวลา (Time Study)

เป็นวิธีการในการคํานวณหาเวลาในการปฏิบัติงานโดยอาศัยเครื่องมือจับเวลา และการบันทึก

วัตถุประสงค์ของการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา

1.การพัฒนาวิธีการทำงานที่ดีกว่าหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การออกแบบวิธีการทำงาน 

2.จะใช้วิธีการแก้ปัญหาทั่วไปมาใช้ 

3.การจัดตั้งวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานหลังจากที่เราได้พัฒนาวิธีการทำงานที่เหมาะสมที่สุด

4.การหาเวลามาตรฐาน 

5.การฝึกหัดคนงาน

เครื่องมือที่นิยมใช้วิเคราะห์การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา

- แผนภูมิกระบวนการผลิต (Process Chart) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกกระบวนการผลิตหรือวิธีการทำงานให้อยู่ในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย ในแผนภูมินี้จะแสดงถึงขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ

-แผนภาพแสดงการไหล (Flow Diagram) จะแสดงแผนผังของบริเวณที่ทำงานและตำแหน่งของเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยจะเขียนเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ของสิ่งสังเกต

-แผนภูมิคนและเครื่องจักร (Man-Machine Chart) หรือแผนภูมิกิจกรรม (Activity Chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์การทำงาน โดยจะเขียนแสดงกระบวนการหรือลำดับการทำงานกับเวลาที่ใช้สำหรับกิจกรรมนั้นๆ แผนภูมิกิจกรรมจะแสดงการทำงานของคนกับเวลาหรือการทำงานของเครื่องจักรกับเวลาเท่านั้น

- แผนภูมิการปฏิบัติงาน (Operation Chart) หรือแผนภูมิมือซ้ายและมือขวา (Left and Right Hand Chart) หรืแผนภูมิสองมือ (Two-Handed Process Chart) เป็นแผนภูมิที่เขียนเพื่อแสดงการทำงานของมือซ้ายและมือขวา โดยจะมีการเขียนเป็นแผนผังสถานีงาน ซึ่งจะประกอบด้วยงานที่จะต้องทำ วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานและตำแหน่งที่คนงานทำงานอยู่ แล้วสังเกตการณ์ทำงานของคนงานอย่างละเอียด บันทึกการเคลื่อนไหวของมือซ้ายและมือขวาของคนงาน การสังเกตการณ์ทำงานควรสังเกตหลายๆรอบ แล้วจึงค่อยบันทึกสรุปการทำงานนั้นๆ และจึงเขียนการเคลื่อนไหวของมือซ้ายลงในแผนภูมิข้างซ้าย การเคลื่อนไหวของมือขวาลงในแผนภูมิข้างขวาโดยใช้สัญลักษณ์แทนพร้อมกับมีคำอธิบายการทำงานกำกับอยู่ข้างๆ

Work Study

1.การศึกษาการทำงาน (Work Study)วัชรินทร์ สิทธิเจริญ (2547) กล่าวว่า การศึกษาการทำงาน (Work Study) เป็นค าที่ใช้แทน วิธีการต่างๆ จากการศึกษาวิธีการท างาน และการวัดผลงาน ซึ่งใช้ในการศึกษาวิธีการท างานของคน อย่างมีแบบแผน และพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพและเศรษฐ์ภาวะของการ ท างานเพื่อปรับปรุงการท างานนั้นให้ดีขึ้น

2 เทคนิคช่วยในการเพิ่มผลผลิตจากทรัพยากรที่มีอยู่ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงซึ่งการศึกษางานประกอบด้วย

1. การศึกษาวิธี (Method Study) เป็นการศึกษาเพื่อหาวิธีการทำงานที่ง่ายที่สุดสะดวกรวดเร็วประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามาใช้แทนวิธีการทำงานเดิม

2. การวัดผลงาน (Work Measurement) เป็นการศึกษาเพื่อกำหนดหาเวลามาตรฐาน ซึ่งเป็น ประโยชน์ในแง่ต่างๆ เช่น การวางแผนการผลิต การปรับปรุงดุลยภาพของสายการผลิต เป็นข้อมูลใน การจ่ายค่าแรงจูงใจหรือกำหนดมาตรฐานการผลิต

2.แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping : VSM)

แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping : VSM) เป็นเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการด้วยการแสดงลำดับขั้นตอนของกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งส่งมอบคุณค่าให้กับ ลูกค้าและทำให้ทราบภาพรวมของกระบวนการ รวมทั้งปรับปรุงการไหลของทรัพยากรและสามารถ ระบุกิจกรรมไคเซ็นเพื่อขจัดความสูญเปล่า

3.การจัดสมดุลของการผลิต

การจัดสมดุลสายการผลิต ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยเฉพาะระบบการผลิตแบบ Flow Line การวางผังตามชนิด ผลิตภัณฑ์นั้นมักใช้กับระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง

4 การเพิ่มผลผลิต หรือ Productivity

การเพิ่มผลผลิต หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้สินค้า บริการหรืองานที่ มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ด้วยวิธีการในการลดต้นทุน ลดการสูญเสียทุกรูปแบบ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร และการใช้เทคนิคการทำงานต่างๆ เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สรุป ทฤษฏีการศึกษาการทำงาน (Work Study) ได้ถูกนำมาใช้ในส่วนการจับเวลาและค้นหา สาเหตุของปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับงานที่เราจะท าการปรับปรุงแล้วยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ปรับปรุง ปัญหาได้อีกด้วย

หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express บีเอส ขนส่ง บริการขนส่งสินค้าภายในและต่างประเทศ | BS Express (bsgroupthailand.com)

อ้างอิง : chapter2(1).pdf  inma0252jh_ch2.pdf e0b89ae0b897-2.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

Job Description /JD & Job Specification

 


Job Description /JD

Job Description ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

ส่วนประกอบที่อยู่ใน JD

-ข้อมูลทั่วไป

-วัตถุประสงค์ของตำแหน่งงาน หรือ Job Purpose

-ความรับผิดชอบหลัก

-ความยากของงาน

-ขอบเขตงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

-การทำงานร่วมกับหน่วยงาน

-คุณสมบัติประจำตำแหน่ง

ข้อมูลทั่วไป (Job Title)

ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย ชื่อตำแหน่งงาน แผนก ฝ่าย ผู้บังคับบัญชา ระดับตำแหน่งเป็นต้น

วัตถุประสงค์ของตำแหน่งงาน หรือ ที่เรียกว่า Job Purpose

ความรับผิดชอบหลัก(Key Responsibilities)

ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญเพราะเป็นส่วนที่บรรยายลักษณะงานหลักที่จะต้องทำหรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่ดำเนินงานซึ่งในบ้างกรณีก็อาจจะแบ่งส่วนงานนี้ออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.ความรับผิดชอบหลัก (Key Responsibilities)
2.Key Activities คือกิจกรรมหลักที่ต้องทำผลที่บริษัทคาดหวัง (Key Expect Results) 
3.ผลลัพธ์ที่คาดหวังที่จะได้รับออกมาจากในแต่ละกิจกรรมหลัก 

-ความยากของงาน (Major Challenge): ซึ่งเป็นงานที่จะต้องทำที่อาจจะต้องใช้ความรู้ทักษะในกาดำเนินงานหรือ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
-ขอบเขตงานของผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinate’s Responsibilities) ในส่วนนี้จะทำให้ทราบว่าจะมีลูกน้องที่อยู่ใต้บังคับบัญชากี่คน รวมถึง ลูกน้องที่อยู่ภายใต้การดูแลมีตำแหน่งอะไรบ้าง
-การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น (Working Relationship) การกำหนดหน่วยงานที่จะต้องทำงานร่วมด้วย และงานที่ต้องติดต่อ หรือความถี่ที่ต้องติดต่อหรือทำงานด้วย
ประโยชน์ของ JD
ช่วยในการสรรหา และคัดเลือกพนักงาน
เป็นเครื่องมือมอบหมายงานให้กับพนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานใหม่ทราบขอบเขตงานหรือกิจกรรมที่จะต้องทำหลังจากเริ่มงานใหม่
ช่วยกำหนด Competency ของตำแหน่งงานนั้นๆ
สามารถนำไปใช้ในการประเมินค่างาน/ใช้ในการประเมินและวัดผลงานนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำสำรวจค่าจ้างเงินเดือน
ช่วยเปรียบเทียบในการตัดสินใจด้านค่าตอบแทนพนักงาน
Job Specification
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Specification) เป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละตำแหน่ง จัดเป็นเอกสารที่สำคัญสำหรับ HR มืออาชีพ ที่จะใช้ในการสื่อให้ผู้สนใจในตำแหน่งนั้น ๆ ทราบและตัดสินใจว่าเขาเหมาะกับตำแหน่งนั้น ๆ หรือไม่ ดังนั้น HR (ฝ่ายบุคคล) ควรจะเขียนอธิบายคุณสมบัติที่ต้องการให้ชัดเจน
คุณสมบัติประจำตำแหน่ง (Job Specification)
ซึ่งรายละเอียดในส่วนนี้มีความสำคัญสำหรับที่ใช้ในกระบวนสรรหาพนักงานอีกด้วย ซึ่งใน Job Specification อาจจจะมีส่วนประกอบดังนี้
-วุฒิการศึกษา (Education Background)
-ประสบการณ์ทำงาน (Professional Experiences)
-ความสามารถประจำตำแหน่ง (Key Competencies)
คุณสมบัติอื่น ๆ (Other)
อบรม,สัมนา (Training)
องค์ประกอบในการทำ Job Specification มีองค์ประกอบดังนี้
1.วุฒิการศึกษาที่เหมาะสมกับแต่ล่ะตำแหน่ง
2.ความรู้เฉพาะตำแหน่ง
3.ทักษะ
4.ความสามารถ
5.คุณลักษณะอื่น ๆ เช่น บุคลิกภาพส่วนตัว
6. เอกสารแสดงเกี่ยวกับอาชีพ เช่น ประกาศนียบัตร
7. ประสบการณ์
8. เงื่อนไขการทำงาน (Working Condition) หากงานต้องทำภายใต้เงื่อนไขพิเศษกว่าปกติ เช่น ต้องอยู่นอกเวลาทำงานปกติ ทำงานวันหยุด งานเป็นกะ ทำงานนอกสถานที่ ทำงานกับลูกค้าพิเศษ เป็นต้น จะต้องกำหนดไว้ภายใต้หัวข้อนี้ด้วย
9. ความต้องการทางกายภาพ (Physical Requirements) เช่น งานที่ต้องยืนทำเป็นเวลานาน งานที่ต้องยกของหนัก ทำงานซ้ำ ๆ พร้อมมีเวลาพักเล็กน้อย เป็นต้น
 หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=67

                         

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...