TIME-MOTION STUDY
การศึกษาการเคลื่อนไหว (Motion Study)
เป็นการวิเคราะห์ขั้นตอนของการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงานรวมทั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และการวางผังในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
การศึกษาเวลา (Time Study)
เป็นวิธีการในการคํานวณหาเวลาในการปฏิบัติงานโดยอาศัยเครื่องมือจับเวลา และการบันทึก
วัตถุประสงค์ของการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา
1.การพัฒนาวิธีการทำงานที่ดีกว่าหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การออกแบบวิธีการทำงาน
2.จะใช้วิธีการแก้ปัญหาทั่วไปมาใช้
3.การจัดตั้งวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานหลังจากที่เราได้พัฒนาวิธีการทำงานที่เหมาะสมที่สุด
4.การหาเวลามาตรฐาน
5.การฝึกหัดคนงาน
เครื่องมือที่นิยมใช้วิเคราะห์การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา
- แผนภูมิกระบวนการผลิต (Process Chart) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกกระบวนการผลิตหรือวิธีการทำงานให้อยู่ในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย ในแผนภูมินี้จะแสดงถึงขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ
-แผนภาพแสดงการไหล (Flow Diagram) จะแสดงแผนผังของบริเวณที่ทำงานและตำแหน่งของเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยจะเขียนเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ของสิ่งสังเกต
-แผนภูมิคนและเครื่องจักร (Man-Machine Chart) หรือแผนภูมิกิจกรรม (Activity Chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์การทำงาน โดยจะเขียนแสดงกระบวนการหรือลำดับการทำงานกับเวลาที่ใช้สำหรับกิจกรรมนั้นๆ แผนภูมิกิจกรรมจะแสดงการทำงานของคนกับเวลาหรือการทำงานของเครื่องจักรกับเวลาเท่านั้น
- แผนภูมิการปฏิบัติงาน (Operation Chart) หรือแผนภูมิมือซ้ายและมือขวา (Left and Right Hand Chart) หรืแผนภูมิสองมือ (Two-Handed Process Chart) เป็นแผนภูมิที่เขียนเพื่อแสดงการทำงานของมือซ้ายและมือขวา โดยจะมีการเขียนเป็นแผนผังสถานีงาน ซึ่งจะประกอบด้วยงานที่จะต้องทำ วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานและตำแหน่งที่คนงานทำงานอยู่ แล้วสังเกตการณ์ทำงานของคนงานอย่างละเอียด บันทึกการเคลื่อนไหวของมือซ้ายและมือขวาของคนงาน การสังเกตการณ์ทำงานควรสังเกตหลายๆรอบ แล้วจึงค่อยบันทึกสรุปการทำงานนั้นๆ และจึงเขียนการเคลื่อนไหวของมือซ้ายลงในแผนภูมิข้างซ้าย การเคลื่อนไหวของมือขวาลงในแผนภูมิข้างขวาโดยใช้สัญลักษณ์แทนพร้อมกับมีคำอธิบายการทำงานกำกับอยู่ข้างๆ
Work Study
1.การศึกษาการทำงาน (Work Study)วัชรินทร์ สิทธิเจริญ (2547) กล่าวว่า การศึกษาการทำงาน (Work Study) เป็นค าที่ใช้แทน วิธีการต่างๆ จากการศึกษาวิธีการท างาน และการวัดผลงาน ซึ่งใช้ในการศึกษาวิธีการท างานของคน อย่างมีแบบแผน และพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพและเศรษฐ์ภาวะของการ ท างานเพื่อปรับปรุงการท างานนั้นให้ดีขึ้น
2 เทคนิคช่วยในการเพิ่มผลผลิตจากทรัพยากรที่มีอยู่ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงซึ่งการศึกษางานประกอบด้วย
1. การศึกษาวิธี (Method Study) เป็นการศึกษาเพื่อหาวิธีการทำงานที่ง่ายที่สุดสะดวกรวดเร็วประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามาใช้แทนวิธีการทำงานเดิม
2. การวัดผลงาน (Work Measurement) เป็นการศึกษาเพื่อกำหนดหาเวลามาตรฐาน ซึ่งเป็น ประโยชน์ในแง่ต่างๆ เช่น การวางแผนการผลิต การปรับปรุงดุลยภาพของสายการผลิต เป็นข้อมูลใน การจ่ายค่าแรงจูงใจหรือกำหนดมาตรฐานการผลิต
2.แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping : VSM)
แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping : VSM) เป็นเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพกระบวนการด้วยการแสดงลำดับขั้นตอนของกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งส่งมอบคุณค่าให้กับ ลูกค้าและทำให้ทราบภาพรวมของกระบวนการ รวมทั้งปรับปรุงการไหลของทรัพยากรและสามารถ ระบุกิจกรรมไคเซ็นเพื่อขจัดความสูญเปล่า
3.การจัดสมดุลของการผลิต
การจัดสมดุลสายการผลิต ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยเฉพาะระบบการผลิตแบบ Flow Line การวางผังตามชนิด ผลิตภัณฑ์นั้นมักใช้กับระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง
4 การเพิ่มผลผลิต หรือ Productivity
การเพิ่มผลผลิต หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้สินค้า บริการหรืองานที่ มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ด้วยวิธีการในการลดต้นทุน ลดการสูญเสียทุกรูปแบบ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร และการใช้เทคนิคการทำงานต่างๆ เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
สรุป ทฤษฏีการศึกษาการทำงาน (Work Study) ได้ถูกนำมาใช้ในส่วนการจับเวลาและค้นหา สาเหตุของปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับงานที่เราจะท าการปรับปรุงแล้วยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ปรับปรุง ปัญหาได้อีกด้วย
หากสนใจติดต่อใช้บริการกับทาง BS Express บีเอส ขนส่ง บริการขนส่งสินค้าภายในและต่างประเทศ | BS Express (bsgroupthailand.com)
อ้างอิง : chapter2(1).pdf inma0252jh_ch2.pdf e0b89ae0b897-2.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น