โรคเบาหวานสังเกตุยังไง !!!!
โรคเบาหวาน นั้นบางทีเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการอะไรบ่งบอก ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ หากไม่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวาน จนกระทั่งโรคดำเนินไปมากแล้วจึงจะรู้ตัว
โรคเบาหวานคืออะไร ?
โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่
- การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนลดลง
- ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
โดยความบกพร่องดังกล่าวนี้ มีผลให้การดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ร่างกายลดลง จนมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเป็นปริมาณมาก และเป็นผลให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง และเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ตามองไม่ชัด เท้าเป็นแผล ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจอันตรายถึงขั้นต้องทำการตัดอวัยวะ เป็นต้น
อาการที่บอกว่าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน?
- รู้สึกกระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
- รับประทานอาหารมากขึ้นแต่กลับน้ำหนักลด
- มีปัญหาด้านการมองเห็น ได้แก่ ตาพร่าลาย เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
- มีแผลเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ
รู้ทันโรคเบาหวาน – ด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจว่าเราเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ สามารถทำได้ด้วยการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar: FBS) โดยระดับน้ำตาลในเลือดจะสามารถบ่งบอกถึงปริมาณของกลูโคสในกระแสเลือด ณ ขณะนั้นว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งการตรวจน้ำตาลในเลือดนี้เป็นการตรวจที่ช่วยคัดกรองและวินิจฉัยว่าเรามีเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่
ปัจจุบัน เราสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง (Self Monitoring of Blood Glucose) ซึ่งสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ มีข้อดีคือ ทำให้ทราบความเสี่ยงว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ทันที
ระดับน้ำตาลในเลือดดูอย่างไร?
- ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70-100 คุณอยู่ในภาวะปกติ
- ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง
- ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรทำอย่างไร?
- รักษาแบบใช้ยา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยารับประทานและยาฉีด ซึ่งแต่ละแบบมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยยารักษาโรคเบาหวานในปัจจุบันมีผลข้างเคียงน้อยและสะดวกในการใช้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจจ่ายยาให้กับผู้ป่วยแต่ละรายตามความเหมาะสม
- รักษาแบบไม่ใช้ยา คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คุมอาหาร และออกกำลังกาย เช่น
- รับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำ ทำให้ดูดซึมน้ำตาลช้า อิ่มนาน เช่น ผักใบเขียว ฝรั่ง แอปเปิ้ล กล้วยน้ำว้า ข้าวโอ๊ต ข้าวซ้อมมือ วุ้นเส้น เป็นต้น
- รับประทานน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- การกินอาหารเสริม คือ การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยลดอัตราการเกิดเบาหวาน
- รับประทานตัวอาหารเสริมตามคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน
- รับประทานตัวอาหารเสริมตามคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น