1. ผู้บริหารสูงสุด
เพราะพนักงานบางคนไม่กล้าที่จะตัดสินใจ ถ้าผู้บริหารสูงสุดไม่มาเกี่ยวด้วย พนักงานก็จะไม่รู้ว่าขอบเขตในการทำงานมันมากน้อยแค่ไหนอาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงาน ผลเสียมันก็จะตามมา เพราะงานค้างยังอยู่ ไม่มีใครอนุมัติ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้บริหารสูงสุด คือ มีหน้าที่ในการกระตุ้น มีหน้าที่ในการเคาะตัดสินใจ มีหน้าที่ในการให้กำลังใจ
ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายบัญชี ฝ่ายบริการ ฝ่ายขาย หัวหน้าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุน ถ้าคุณไม่มีเวลาไปทำคุณส่งลูกน้องไปทำ คุณต้องเห็นว่าลูกน้องคุณทำได้ สนับสนุนให้ลูกน้องทำ ไม่ใช่เวลาจะมีประชุมกันจะเขียนแผนกัน เขียนคู่มือบริการกัน คุณก็ดันไปใช้งานลูกน้องให้ทำอะไรก็ไม่รู้ในสิ่งที่มันไม่ใช่เรื่องการบริการเพราะฉะนั้นเองคนที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องมีบทบาท หน้าที่ สนับสนุนให้ลูกทีมของคุณมีเวลาว่างพอในการที่จะมานั่งช่วยกันเขียนคู่มือการบริการ
3. พนักงานหน้างาน
คนที่ทำงานหน้างาน พนักงานต้อนรับ พนักงานที่เคาน์เตอร์ พนักงานขายที่จะต้องไปปะทะกับลูกค้า ไปเจอกับลูกค้าพวกนี้จะเกี่ยวพันโดยตรง เมื่อพนักงานหน้างานเกี่ยวพันโดยตรงเข้าก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้บริการกับลูกค้า
ตัวอย่างเช่น พนักงานฝ่ายขายไปขายสินค้าให้กับลูกค้า พนักงานฝ่ายขายก็จะเป็นพนักงานหน้างานที่ไปปะทะกับลูกค้าแต่หลังจากที่พนักงานฝ่ายขายกลับมาที่บริษัทจะต้องมีฝ่ายบัญชี ฝ่ายแอดมิน ฝ่ายผลิต ฝ่ายติดตั้ง นี้คือพนักงานที่เกี่ยวข้องแต่พนักงานที่ให้บริการคนหลักก็คือฝ่ายขาย แต่ที่เหลือคือพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนี่แหละมีหน้าที่ที่จะจัดทำคู่มือบริการด้วยกัน ไม่ใช่ปล่อยให้ฝ่ายขายทำคนเดียว
5. หน่วยงานจัดทำคู่มือ
จัดตั้งหน่วยงานที่จัดทำคู่มือโดยเฉพาะ การจัดตั้งหน่วยงานจัดทำคู่มือโดยเฉพาะก็คือจะดึงคนจากหลายๆหน่วยงานเข้ามาประชุมร่วมกัน เอาคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เอาหัวหน้างานเข้ามาประชุมร่วมกัน เมื่อประชุมร่วมกัน จัดทำคู่มือเป็นหน่วยงานหน่วยงานที่จัดตั้งมาก็จะมีหน้าที่ติดตาม มีหน้าที่กระตุ้น ติดตามความคืบหน้าให้งานมันเดินไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
หลังจากที่เราทำคู่มือบริการมาได้ จะมีเอกสารเป็นชุดหลายๆชุดหลายๆเล่ม จะต้องมีคนมากำกับดูแลเอกสาร บางทีต้องการใช้คู่มือนี้แล้วใช้เสร็จมันเกิดหายขึ้นมา เพราะฉะนั้นเองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคนคอยควบคุมเอกสารให้เอกสารมันรันหรือว่าให้เอกสารมันเดินตามแนวทางของการบริการ หรือจะต้องมีการอัพเดทตัวคู่มือก็สามารถที่จะหยิบจับมาอัพเดทพัฒนาให้เป็นฉบับปัจจุบันได้
7. ทีมที่ปรึกษา
บางครั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ที่ปรึกษาในการเขียนคู่มือบริการ ในการตรวจสอบ ตรวจดู เป็นหน้าที่ที่จะคอยส่งคอยดูให้คนที่เขียนคู่มือเขียนและออกแบบดีไซน์ กำกับดูแลจนกระทั่งคู่มือการบริการเสร็จออกมาได้ แล้วก็คอยติดตามผลว่าใช้คู่มือแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=XECkbQvDD08&list=PLAN3x7UIgeB2S-YrL7wB7Tg6k7GtyCGRt&index=28
เว็บบริษัท : https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=59
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น