วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566


 หลักสูตรการเขียนคู่มือการบริการ EP. 0

ปัญหาในการทำธุรกิจ      
                                                   
1.ลูกค้าน้อยลง
2.ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
3.ความสับสนในการบริการ
4.ต่างคนต่างให้บริการ
5.หาจุดผิดพลาดไม่เจอ
6.ข้อขัดแย้งกับลูกค้า                   
           
สูตรลับในการสร้างความสำเร็จ    
                        
สร้างพฤติกรรมที่ดีเลิศ                                             
1.สร้างจิตสำนึก
2.พัฒนาทักษะการบริการ
3.สร้างมาตรฐานการบริการ
4.การสร้างคู่มือการให้บริการ

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566

สร้างร้านค้าบน Facebook และ Instagram

 สร้างร้านค้าบน Facebook และ Instagram


คุณสามารถแสดงและขายสินค้าบน Facebook และ Instagram ได้ด้วยร้านค้า ผู้คนที่เข้าชมร้านค้าของคุณจะสามารถเลือกดูสินค้า ซื้อสินค้า และทำความรู้จักแบรนด์ของคุณได้ คุณจะสร้างร้านค้าในตัวจัดการการค้า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อจัดการสินค้าคงคลังและการขายสินค้าของคุณบน Facebook และ Instagram

ก่อนที่คุณจะเริ่ม

  • หากคุณยังไม่มีเพจธุรกิจบน Facebook หรือแค็ตตาล็อก คุณสามารถสร้างเพจหรือแค็ตตาล็อกได้เมื่อตั้งค่าร้านค้า

    ·         หากคุณมีเพจและแค็ตตาล็อกที่ต้องการใช้กับร้านค้าอยู่แล้ว

    ·         หากคุณจัดการเพจและแค็ตตาล็อกของคุณในบัญชีธุรกิจ คุณจะต้องมีสิทธิ์การควบคุมบัญชีดังกล่าวโดยสมบูรณ์ และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีสิทธิ์การอนุญาต "จัดการ" ทั้งเพจและแค็ตตาล็อกดังกล่าว เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงและสิทธิ์การอนุญาตสำหรับบัญชีธุรกิจ

    ·         หากคุณต้องการให้ร้านค้าของคุณปรากฏบน Instagram คุณจะต้องมีบัญชีธุรกิจบน Instagram โดยบัญชีธุรกิจของคุณจะต้องเป็นเจ้าของบัญชีธุรกิจบน Instagram ที่บัญชีธุรกิจเชื่อมต่ออยู่

    ·         หมายเหตุ: หากคุณต้องการขายสินค้าโดยใช้ฟีเจอร์ร้านค้าบน Instagram เพียงอย่างเดียว คุณไม่จำเป็นต้องสร้างหรือระบุเพจธุรกิจบน Facebook เมื่อสร้างร้านค้าในตัวจัดการการค้า

วิธีตั้งค่าร้านค้าบน Facebook และ Instagram

วิธีตั้งค่าร้านค้า
1. ไปที่หน้า "สร้างร้านค้าของคุณ" แล้วคลิก "ถัดไป"  
     หากคุณขายสินค้าบน Shopify, BigCommerce หรือแพลตฟอร์มพาร์ทเนอร์อื่นอยู่แล้ว คุณสามารถสร้างร้านค้าของคุณได้โดยการนำเข้าและซิงค์สินค้าของคุณ คลิก "ซิงค์แพลตฟอร์มพาร์ทเนอร์" ที่ด้านขวา แล้วคลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์พาร์ทเนอร์ของคุณเพื่อตั้งค่าให้เสร็จสมบูรณ์

1.    2. คุณอาจต้องเลือก วิธีการชำระเงิน จากนั้นคลิก "ถัดไป"

     3. หากคุณต้องการขายสินค้าบนเพจธุรกิจ Facebook ให้เลือกเพจหรือสร้างเพจใหม่ หากคุณต้องการขายสินค้าบน Instagram ด้วยเช่นกัน ให้เลือกบัญชีธุรกิจบน Instagram ของคุณ จากนั้นคลิก "ถัดไป"

1.     4. เลือกบัญชีธุรกิจของคุณ หรือสร้างบัญชีใหม่ จากนั้นคลิก "ถัดไป"

2.     5. เลือกแค็ตตาล็อกที่คุณต้องการใช้ในร้านค้าของคุณ แล้วคลิก "ถัดไป" หากต้องการเลือกแค็ตตาล็อก แค็ตตาล็อกนั้นจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดสิทธิ์การใช้งานแค็ตตาล็อกสำหรับร้านค้า โดยคุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแค็ตตาล็อกนี้ได้ในภายหลัง

·       หมายเหตุ: หากคุณยังไม่มีแค็ตตาล็อก คุณจะไม่เห็นขั้นตอนนี้ เราจะสร้างแค็ตตาล็อกให้คุณโดยอัตโนมัติในตัวจัดการการค้าที่ชื่อว่า "สินค้าสำหรับ (ชื่อและ ID ของเพจของคุณ)" คุณสามารถเพิ่มสินค้าได้ภายหลังเมื่อคุณตั้งค่าร้านค้าเสร็จสิ้นแล้ว

1.     6. ตรวจทานรายละเอียดร้านค้าของคุณ อ่านและยอมรับข้อตกลงสำหรับผู้ขายสินค้า แล้วคลิก "เสร็จสิ้นการตั้งค่า"

       คุณได้สร้างร้านค้าเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนถัดไป คุณอาจต้องการ

·         จัดการแค็ตตาล็อกของคุณเพื่อเพิ่มสินค้าที่คุณต้องการขาย สินค้าทั้งหมดจากแค็ตตาล็อกจะอยู่ในร้านค้าของคุณโดยเริ่มต้น แต่คุณยังสามารถควบคุมสินค้าที่จะปรากฏได้

·         สร้างคอลเลกชั่น ซึ่งคือกลุ่มสินค้าที่คุณต้องการแนะนำในร้านค้า

·         เปลี่ยนโฉมให้ร้านกับร้านค้าของคุณ

·         เผยแพร่ร้านค้าของคุณ ผู้คนจะสามารถเห็นร้านค้าของคุณได้ก็ต่อเมื่อเราตรวจสอบและอนุมัติคอลเลกชั่นของคุณเรียบร้อยแล้ว

      หมายเหตุ: หากคุณตั้งค่าร้านค้าที่มีการชำระเงิน Shop Pay by Shopify จะเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติ หากคุณไม่ต้องการให้ลูกค้าใช้ Shop Pay คุณสามารถปิดใช้งานได้ทุกเมื่อ

ขอบคุณที่มาจาก : fillgoods




มารู้จัก แคมเปญโค้ดส่วนลด Shopee เครื่องมือสนับสนุนการขายที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรรู้

 แคมเปญ โค้ดส่วนลด Shopee

แคมเปญ โค้ดส่วนลดคืออะไร ?

แคมเปญโค้ดส่วนลด คืออีเว้นท์โปรโมชั่นของ Shopee ที่รวมโค้ดส่วนลดที่น่าสนใจจากร้านค้าที่เข้าร่วม โดยผู้ซื้อจะสามารถเก็บโค้ดจากแคมเปญที่แสดงอย่างโดดเด่นบนหน้าแรกของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Shopee และนำไปใช้ซื้อสินค้าได้ในราคาพิเศษ.






เมื่อร้านค้าเข้าร่วมแคมเปญโค้ดส่วนลด จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยให้ผู้ซื้อเข้าถึงร้านค้าได้มากขึ้น
  • กระตุ้นยอดขายได้อย่างรวดเร็ว


2 ขั้นตอนการเข้าร่วมแคมเปญโค้ดส่วนลด

2.1 เริ่มต้นด้วยการ เลือกเข้าร่วมแคมเปญ





2.2 จากนั้นจึงเลือกแคมเปญที่ต้องการเข้าร่วม




2.3 ทำการเข้าร่วม Session ของแคมเปญที่ต้องการเข้าร่วม




2.4 เมื่อเข้า Session มาแล้วจะมีรายละเอียดต่างๆของแคปเปญบอกไว้ ซึ่งแต่ละแคมเปญก็จะมีรายละเอียดที่ต่างกัน พ่อค้าแม่ค้าควรอ่านให้ดีก่อนจะทำการเข้าร่วมแคมเปญ หลังจากอ่านครบเรียบร้อยให้กด นำเสนอโค้ด




2.5 จากนั้น Shopee จะให้เราใส่รายละเอียดต่างๆของโค้ดที่เราจะสร้าง ตามต้องการ เช่น
  • ชื่อโค้ดส่วนลด
  • ประเภทโค้ดส่วนลด
  • มูลค่าส่วนลด
  • ราคาขั้นต่ำ
  • จำนวนโค้ด
  • ตั้งค่าการแสดงโค้ดและสินค้าที่ใช้ได้

หลังใส่รายละเอียดเสร็จ กดนำเสนอโค้ดเป็นอันเสร็จ






การแก้ไขโค้ดส่วนลดที่นำเสนอ

หลังจากนำเสนอเรียบร้อยแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขโค้ดส่วนลดได้อีก ยกเว้นการตั้งค่าบางอย่างในบางสถานะเท่านั้น แต่สามารถเพิ่มหรือนำโค้ดส่วนลดออกจากรายการโค้ดที่นำเสนอแล้วใน session ก่อนช่วงการนำเสนอจะสิ้นสุด

การเตรียมตัวเข้าร่วมแคมเปญโค้ดส่วนลด

ก่อนการร่วมแคมเปญโค้ดส่วนลด ร้านค้าต้องผ่านเกณฑ์และเงื่อนไขที่ Shopee กำหนด จึงจะสามารถนำเสนอสินค้าได้

เงื่อนไขร้านค้า

  • ร้านค้าจากต่างประเทศ - ร้านค้าใน Shopee ที่มีการจัดส่งสินค้าจากต่างประเทศ
  • ร้านค้าที่มีผู้ดูแล - ร้านค้าที่มีเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลและช่วยเหลือในการดำเนินการต่างๆ ของร้าน
  • โหมดพักร้อน - หากตั้งค่าร้านค้าเป็นโหมดพักร้อน จะไม่สามารถนำเสนอโค้ดส่วนลดเข้าร่วมแคมเปญได้
  • ประเภทร้านค้า - ตรวจสอบว่าแคมเปญมีการจำกัดประเภทร้านค้าที่สามารถเข้าร่วมหรือไม่ เช่น ร้านค้าทั่วไป, ร้านค้าแนะนำ หรือร้านค้าทางการ
  • คะแนนร้านค้า - รักษาคะแนนรีวิวร้านค้าให้ดีเสมอ เพื่อร่วมแคมเปญที่อาจใช้คะแนนรีวิวสินค้าเป็นเกณฑ์ในการเข้าร่วม
  • ระยะเวลาจัดเตรียมสินค้า - การเตรียมและนำส่งสินค้าให้ช่องทางการจัดส่งตามเป้าหมายเวลาการจัดเตรียมพัสดุ
  • ร้านค้าร่วมโปรแกรมส่วนลด ร้านโค้ดคุ้ม - สำหรับแคมเปญที่เปิดรับเฉพาะร้านค้าที่ร่วมโปรแกรมส่วนลด ร้านโค้ดคุ้ม เท่านั้น
  • ร้านค้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี* ร้านโค้ดคุ้ม - สำหรับแคมเปญที่เปิดรับเฉพาะร้านค้าที่ร่วมโปรแกรมส่งฟรี* ร้านโค้ดคุ้มเท่านั้น

การผ่านเกณฑ์เข้าร่วมแคมเปญโค้ดส่วนลด

Shopee จะพิจารณาโค้ดส่วนลดที่นำเสนอเข้าร่วมในแคมเปญอย่างละเอียด เพื่อคัดเลือกเฉพาะโค้ดส่วนลดที่ดึงดูดใจผู้ซื้อและเพิ่มยอดการเข้าชม

  • เงื่อนไขโค้ด
  • จำนวนที่ใช้ได้ - จำนวนโค้ดส่วนลดที่ผู้ซื้อสามารถใช้สำหรับซื้อสินค้าในร้านได้
  • ยอดสั่งซื้อขั้นต่ำ - ยอดที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องสั่งซื้อให้ครบตามที่กำหนด เพื่อใช้โค้ดส่วนลด
  • ประเภทโค้ด - โค้ดส่วนลดประเภทโค้ดส่วนลดร้านค้า หรือโค้ดส่วนลดสินค้า
  • ประเภทส่วนลด - ส่วนลดประเภทต่างๆ เช่น มูลค่าส่วนลด, เปอร์เซ็นต์ส่วนลด หรือ Coins Cashback
  • การตั้งค่าการแสดงโค้ด - การตั้งค่าให้แสดงทุกหน้า หรือเฉพาะหน้าที่เลือก เช่น Shopee LIVE




สินค้าต้องห้ามบนTikTok Shop


 1.
อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และอาวุธต่าง   

  • อาวุธปืน
  • ชิ้นส่วน ชุดเครื่องมือ เครื่องกระสุนปืน ส่วนประกอบ และอุปกรณ์เสริมสำหรับอาวุธปืน
  • ปืนบีบีกัน ปืนเพนท์บอล ปืนอัดลม ปืนแก๊สน้ำตา ปืนแก๊ป
  • วัตถุแหลมคมที่มีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวันจะไม่รวมอยู่ในรายการนี้
2.สารพิษและของทางเคมีและขยะเคมีที่อันตราย  
  • วัตถุระเบิด และอุปกรณ์สำหรับแปรสภาพวัตถุระเบิด
  • ดอกไม้ไฟ
  • ปรอทเหลวและสินค้าที่มีปรอท
  • อาหารที่มีอันตรายทางชีวภาพสูง อาหารที่ถนอมด้วยรังสี และอาหารที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม
3.ชิ้นส่วนร่างกายและศพมนุษย์
  • ชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์
  • มูลหรือของเหลวในร่างกายมนุษย์
  • ศพมนุษย์
  • อสุจิ ไข่ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว เอ็มบริโอ การตั้งครรภ์แทน หรือบริการนายหน้า (การซื้อและขายอสุจิ ไข่ ไข่ที่ปฏิสนธิ เอ็มบริโอ หรือการตั้งครรภ์แทน)
4.สัตว์ป่าและพืชคุ้มครอง
  • สัตว์คุ้มครองหรือสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
  • ชิ้นส่วนต่างๆ ในร่างกายสัตว์ รวมถึงอวัยวะ เขา งา กระดูก ผิวหนัง ขน ขนปุย หนัง หรือฟัน
  • พันธุ์พืชที่กฎหมายไม่อนุญาตให้มีการผลิตและซื้อขาย
  • พันธุ์พืชที่เป็นภัยต่อผลผลิต สุขภาพมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ
5.ยาและเครื่องมือแพทย์
  • ยา วิตามิน สินค้าสมุนไพรใดๆ หรือสินค้าอื่นใดที่ต้องมีใบสั่งแพทย์
  • สินค้าใดๆ ที่ต้องจัดหาหรือขายโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ
  • ยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาหยอดหู ครีมทาช่องคลอด ครีม เจลและสเปรย์ทดแทนฮอร์โมน
  • เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์เสริม
6.สินค้ายาผิดกฎหมายและอุปกรณ์เสพยา
  • ยาเสพติด สเตียรอยด์ และยาอื่น ๆ ที่กฎหมายหรือข้อบังคับห้าม รวมถึงสารเคมี หรือวัตถุดิบใดๆ ที่ใช้ในการผลิตยาหรือสารเสพติด
  • อุปกรณ์เสพยา
7.แอลกอฮอล์ ยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า และสินค้าที่คล้ายกัน
  • แอลกอฮอล์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • บุหรี่ไฟฟ้าหรือสินค้ายาสูบไร้ควันอื่นๆ
  • ยาสูบหรือสินค้าใดๆ ที่มียาสูบ เช่น บุหรี่ ซิการ์
8.สินค้าเหรียญ เงินสด และสินค้าทางการเงิน
  • เงินสด
  • เหรียญ แสตมป์ และเงินกระดาษจำลองหรือปลอม เช่น ธนบัตร พันธบัตร ธนาณัติ ตั๋วเงิน ตั๋วทองคำ และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ
  • หุ้นและหลักทรัพย์
9.สินค้าและบริการสำหรับผู้ใหญ่      
  • สินค้าใดๆ ที่มีลักษณะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในกิจกรรมทางเพศหรือกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่
  • วิดีโอเกมและหนังสำหรับผู้ใหญ่เรต X
  • การ์ตูน หนังสือ แอนิเมชัน มังงะที่มีลักษณะโจ่งแจ้งทางเพศ
10.สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
  • สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น รองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋าหรือสินค้าใด ๆ ก็ตามที่ละเมิดด้านทรัพย์สินทางปัญญาของแบรนด์

7 เทคนิค Banner Ads ที่คุณไม่ควรมองข้าม

    

 7 เทคนิค Banner Ads ที่คุณไม่ควรมองข้าม

        Banner Ads คือ การโฆษณาบนช่องทาง Google Ads ที่ลูกค้าจะสามารถเห็นได้ตามหน้าเว็บไซต์ โดยจะมีลักษณะเหมือนแผ่นป้าย ที่ทำให้ธุรกิจสามารถสื่อข้อความที่ต้องการจะบอกเล่าออกมาได้ผ่านรูปภาพ และ ตัวอักษร .

        อย่างไรก็ตามจะมีสักกี่คนที่รู้ว่า การทำโฆษณ Banner Ads ให้ได้ผลดีต้องทำอย่างไร ?  
ทั้งรูปแบบ หรือ ขนาดที่ควรใช้รวมทั้งองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญ

        โดยวันนี้ผมได้นำ 7 เทคนิค ที่น่าสนใจ ที่จะทำให้ Banner Ads ของคุณมีผลลัพธ์ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งประกอบไปด้วย 

การเลือกขนาด (Size) ที่ใช่ 
การเลือกใช้พื้นหลัง (Background) ให้เป็น 
การเลือกคำพาดหัว (Headline) ให้ปัง 
การเลือกใช้ข้อความย่อย (Sub-headings) ให้เหมาะสม 
การเลือกใช้รูปภาพ (Photo) 
การใส่ข้อความกระตุ้น (Call to Action) 
การออกแบบ Landing Page ให้สอดคล้อง

เทคนิคที่ 1 เลือก “ขนาด (Size)” ที่ใช่เพื่อทำให้ Banner Ads ดีขึ้น


สำหรับเทคนิคแรก คือการเลือกขนาด (Size) ซึ่งเป็นองค์ประกอบอันดับต้น ๆ ที่เราควรใส่ใจในการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยขนาดที่เราแนะนำอยากให้คุณลองทำเมื่อมีการออกแบบ Banner Ads ก็มีอยู่ทั้งหมด 4 ขนาด ได้แก่
1. 300×250 Pixels Medium Rectangle ซึ่งมักจะเป็นรูปแบบ Banner Ads ที่เหมาะกับการแสดงผล ทั้งสำหรับบนมือถือ และ แท็บเล็ต



2. 728×90 Pixels Leaderboard รูปแบบ Banner Ads ที่อยู่บริเวณด้านบนของหน้าจอ ที่สามารถเลื่อนตามลงมาด้านล่าง



3. 320×50 Pixels Mobile Leaderboard อีกหนึ่งรูปแบบของการโฆษณา Banner Ads ขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมสำหรับการโฆษณาด้วย Banner Ads ผ่านมือถือ




4. 160×600 Pixels Wide Skyscraper โฆษณา Banner Ads ที่มีลักษณะเป็นแนวยาว มักจะอยู่บริเวณด้านข้างของเว็บไซต์ 


เทคนิคที่2 เลือก“พื้นหลัง(Background)” ให้เป็น เพื่อเน้นใจความสำคัญ 

1. การใช้ภาพพื้นหลังสีทึบ 
        การใช้พื้นหลังสีทึบในการออกแบบ Banner Ads เราสามารถเลือกใช้สีใดก็ได้ ที่ไม่มีลวดลาย หรือ องค์ประกอบอื่นที่จะดึงดูดสายตาออกจากใจความสำคัญ โดยข้อดีของการใช้ภาพพื้นหลังสีทึบนั้น ก็คือการช่วยให้ “สาร” ที่เราต้องการจะสื่อออกไป มีความชัดเจน และ สังเกตได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสที่จะเห็นข้อความที่เราอยากสื่อได้มากที่สุด 

    ดังนั้นการออกแบบ Banner Ads ให้มีพื้นหลังสีทึบจึงเหมาะสำหรับสินค้าที่มีรายละเอียดเยอะในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าหากพื้นหลังที่เราเลือกใช้ดันมีลวดลายก็จะทำให้ผู้อ่านไขว้เขวได้จนรับใจความสำคัญไม่ทัน 

2. การใช้รูปภาพเป็นภาพพื้นหลัง 
        สำหรับการออกแบบ Banner Ads ในการโฆษณาของธุรกิจที่ไม่มีรูปสินค้าเป็นชิ้น ๆ ให้เราสามารถโปรโมตได้ เช่น งานบริการ สถานที่ท่องเที่ยว การออกแบบ Banner Ads ด้วยการเลือกใช้ภาพถ่ายเป็นพื้นหลังก็นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้เราก็ควรต้องระวัง เพราะหากภาพที่เราหยิบมาเด่นเกินไป อาจจะทำให้ข้อความสำคัญโดนกลบหาย จนทำให้สื่อสารได้ไม่ดีนัก

        นอกเหนือจากนั้น ยังมีอีกหนึ่งกรณีที่เหมาะต่อการออกแบบ Banner Ads ให้มีพื้นหลังเป็นรูปภาพ นั่นคือกรณีที่เราไม่อาจใช้คำพูดอธิบายถึงสินค้าได้ทั้งหมด ซึ่งต้องใช้รูปภาพเข้ามาเป็นสิ่งทดแทน


       สำหรับการเลือกใช้พื้นหลัง เราสามารถสรุปได้ว่าสิ่งสำคัญนั่นคือ “ความชัดเจน” โดยหากพื้นหลังของเราทำให้ใจความสำคัญหายไป นั่นแปลว่าเราควรเลือกใช้ภาพพื้นหลังแบบอื่นมาทดแทน

เทคนิคที่ 3 เลือก “คำพาดหัว (Headline)” ให้ปัง เพื่อความน่าสนใจ

  • ใช้ข้อความสั้น ๆ ได้ใจความ ไม่เกิน 2 ประโยค เพราะถ้าหากยาวไป ลูกค้าอาจจะตัดสินใจเลื่อนผ่านไปโดยที่ยังอ่านไม่จบ 
  • สื่อสารให้ชัดเจน ว่าเราต้องการจะสื่ออะไร เช่น บอกว่าสินค้าเราทำอะไรได้ หรือ เราอยากให้ลูกค้าทำอะไรต่อ
  • เลือกใช้ข้อความให้เหมาะสมกับตัวตนของแบรนด์ หรือ สินค้า เช่น หากเราขายเสื้อผ้าอาจจะสามารถใส่คาแรคเตอร์สนุกสนานเข้าไปได้ แต่ถ้าหากสินค้ามีความจริงจังต้องการความน่าเชื่อถือ เช่น การขายยา อาจจะต้องกลับมาใช้การเล่าที่เน้นคุณประโยชน์ และ ความน่าเชื่อถือ 
  • ใช้ข้อความที่บอกให้ลูกค้าทำอะไรบางอย่าง เช่น การใช้คำกริยา จำพวก มาชม! ไปชม! เร่เข้ามา! ฉลอง! เป็นต้น

เทคนิคที่ 4 การเลือกใช้ “ข้อความย่อย (Sub-headings)” ให้เหมาะสม

การเลือกใช้ข้อความย่อย (Sub-headings) ใน Banner Ads มักจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากมันมักจะทำให้มีตัวอักษรมากเกินไป จนทำให้คนมองข้ามใจความสำคัญ หรือ CTA (Call to Action หรือข้อความที่บอกให้ผู้เห็นทำอะไรบางอย่าง)

แต่ก็ไม่ใช่ว่าการใช้ Sub-headings จะเป็นทางเลือกที่แย่เสมอไป เพราะบางธุรกิจที่ก็อาจจะเหมาะกับการออกแบบ Banner Ads ให้มี Sub-headings ด้วยเช่นกัน เพราะในบางครั้งเพียงแค่หัวข้อ กับ Call to Action อาจจะเล่าเรื่องราวได้ไม่เพียงพอ ยกตัวอย่าง เช่น การออกแบบ Banner Ads โฆษณาจากแบรนด์ “Eatfresh” ที่มีสินค้าเป็นอาหาร ซึ่งมีการใส่คำพาดหัวที่เล่าถึงความน่ารับประทาน และ ความอร่อย นอกจากนี้ยังมีการใช้ Sub-headings “Serve Hot in 30 Minutes” ที่เป็นตัวช่วยอธิบายคุณค่าเพิ่มเติมในด้านบริการที่ทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกอยากทานมากขึ้น


เทคนิคที่ 5 เลือกใช้ “รูปภาพ (Photo)” ลงไปในโฆษณา

        การใส่รูปภาพโดยเฉพาะรูปสินค้า เข้าไปในการโฆษณา Banner Ads เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนมักจะทำกัน เพราะการทำเช่นนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้เห็นภาพชัดเจน และ ตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น

        แต่อย่างที่เรารู้กันว่าหลาย ๆ ธุรกิจนั้นก็เป็นธุรกิจบริการ ซึ่งไม่มีสินค้าที่มีรูปร่างหน้าตาให้เห็นกันแบบชัด ๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าการออกแบบ Banner Ads สำหรับโฆษณาธุรกิจบริการ รูปภาพ จะไม่จำเป็น เพราะหลาย ๆ ครั้งที่เรามักจะเห็นการใช้ภาพที่ช่วยสื่ออารมณ์ หรือ ภาพตัวละครเข้ามาแทน เพื่อทำให้เห็นภาพของประโยชน์ที่จะได้รับชัดเจนมากขึ้น โดยตัวอย่าง การออกแบบ Banner Ads ที่ดีที่มีการใช้ภาพในการสื่ออารมณ์ สามารถดูได้จากตัวอย่างด้านล่างกันได้เลยครับ
จากตัวอย่างด้านบนการออกแบบ Banner Ads เพื่อการโฆษณาบริการของ Taskrabbit ธุรกิจบริการที่ช่วยในการจับคู่ผู้ใช้งาน ที่ต้องการลดภาระงานบ้าน กับ ผู้ให้บริการงานบ้านในท้องที่ ซึ่งจากภาพเราจะเห็นว่าการออกแบบ Banner Ads นี้มีการใช้ตัวละครในการสื่ออารมณ์ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังสื่อถึงผลลัพธ์ที่ผู้ใช้จะสามารถกวาดงานบ้านที่ยุ่งยากต่าง ๆ ออกไป

เทคนิคที่ 6 ใส่ข้อความบอกลูกค้าว่าต้องทำอะไรด้วยการใช้ “ข้อความกระตุ้น (Call to Action)”

CTA หรือ Call to Action คือ ข้อความที่เป็นตัวชี้นำ หรือ กระตุ้นให้ผู้เห็นทำตามที่เราต้องการ หลาย ๆ คนคงสังเกตกันได้ว่าการออกแบบ Banner Ads ทั่วไปมักจะมีการใส่ Call To Action อยู่เสมอ ซึ่งหลักการใช้ Call To Action ให้ได้ผลดีก็มีอยู่ทั้งสิ้น 2 องค์ประกอบหลัก ๆ ได้แก่ สี และ ข้อความ


1. สี (Color) คือองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้ลูกค้าสามารถรับสิ่งที่เราจะสื่อได้มากขึ้น ซึ่งแต่ละสีก็จะมีความหมายแตกต่างกันออกไป โดยแต่ละการโฆษณาก็ควรที่จะระวังในการใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการสื่อสารที่ผิด โดยตัวอย่าง เช่น STEPS Academy ที่มีการเลือกใช้สีโทน ขาว น้ำเงิน ฟ้า เหมาะสำหรับการสื่อความหมายว่า เป็นบริษัทอบรมที่มีความน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้สีสำหรับข้อความ Call to Action ก็จะแตกต่างออกไป ซึ่งเราจะต้องเลือกสีสันให้มีความเด่น ชัดเจน สะดุดตา เพื่อที่จะชี้นำให้ผู้อ่านเห็นว่าต้องทำอะไรต่อไป


2. ข้อความ (Text) อีกองค์ประกอบสำคัญสำหรับการทำ Call To Action นั่นคือข้อความ ที่เราต้องบอกให้ชัดเจนว่าเราต้องการให้เขาทำอะไร ซึ่งแต่ละประเภทของธุรกิจก็จะมีความแตกต่างในการเลือกใช้ ซึ่งสามารถดูได้จากตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่างด้านบนเป็นการออกแบบ Banner Ads เพื่อการโฆษณาของ Dropbox ซึ่งเป็นธุรกิจประเภทบริการประเภท IT ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังมีความลังเลที่จะใช้อยู่ ดังนั้นการออกแบบ Banner Ads ของ Dropbox ตัวนี้จึงมีเนื้อหาที่เน้นบอกถึงประโยชน์ พร้อมกับการใส่ Call To Action เข้าไปด้วยข้อความ “TRY IT FREE” เพื่อทำให้ลูกค้ามีความอยากทดลองใช้มากขึ้น

ตัวอย่างด้านบนการออกแบบ Banner Ads ของธุรกิจที่ชื่อว่า “Happykirana” ซึ่งเป็นธุรกิจขายสินค้าจำพวกผัก ผลไม้ อาหาร และของใช้รายวัน ซึ่งด้วยความที่เป็นธุรกิจประเภทขายสินค้าเป็นชิ้น ๆ จับต้องได้ ทำให้ Call To Action จะใช้เป็นคำว่า “Shop Now” หรือ “ซื้อเลย”

เทคนิคที่ 7 ออกแบบ Landing Page ให้สอดคล้องกับโฆษณา

Landing Page คืออะไร ? Landing Page คือหน้าเว็บไซต์ที่เมื่อคนกดโฆษณา Banner Ads เข้าไป แล้วจะเจอเป็นหน้าแรกโดยมีหลักการสำคัญอยู่ว่า

  “เมื่อลูกค้าคาดหวังว่าคลิกเข้ามาแล้วจะเจออะไร ก็ควรจะมี Landing Page ที่ทำให้ลูกค้าได้เจอกับสิ่งเขาต้องการ” 

ดังนั้นการออกแบบ Landing Page ให้สอดคล้องกับโฆษณา Banner Ads ที่เรายิงไปจึงจะยิ่งช่วยให้โฆษณาของเรามีผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เมื่อกดเข้ามาแล้วคงไม่อยาดจะเสียเวลาหาสิ่งที่ต้องการอีกครั้ง  

ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณเลือก Landing Page เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์ ในขณะที่โฆษณาของคุณเจาะจงกล่าวถึงสินค้าชิ้นหนึ่ง การที่ลูกค้าคนหนึ่งคลิกเข้าไป แล้วยังไม่ใช่หน้าเว็บไซต์ของสินค้าตัวนั้นทันที ก็อาจจะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ซึ่งจะส่งผลเสียกับธุรกิจได้ โดยสิ่งที่เราควรทำนั่นคือการใส่ Landing Page เป็นหน้าเว็บสำหรับซื้อสินค้าชิ้นนั้น เพื่อทำให้ลูกค้าได้ทำสิ่งที่ตัวเองต้องการในทันทีที่กดโฆษณา Banner Ads  

นอกจากเทคนิคทั้ง 7 เทคนิคข้างต้นแล้วยังมีวิธีการทำโฆษณา Banner Ads อีกมากมายที่จะช่วยให้คุณสามารถมีผลลัพธ์ที่ดีได้จากการยิงโฆษณารูปแบบ Banner Ads นี้ไม่ว่าจะเป็น การมีปุ่มปิดโฆษณาให้ลูกค้าเสมอ เพื่อภาพลักษณ์ที่ดี หรือ แม้กระทั่งการใช้ A/B Testing ทดสอบผลลัพธ์ของโฆษณาเพื่อดูว่าเราควรใช้รูปแบบไหนจึงได้ผล เป็นต้น

สรุป 

Banner Ads เป็นการโฆษณาที่ธุรกิจสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ผ่านภาพ และ ตัวอักษร โดยการจะสื่อสารให้ดี ให้มีการยิง Banner Ads ไปแล้วเกิดยอดขาย เราก็สามารถทำได้ด้วย 7 เทคนิคในการออกแบบ Banner Ads ที่มีองค์ประกอบสำคัญต่าง ๆ ที่มีทั้งด้าน ขนาด (Size), ภาพพื้นหลัง (Background), คำพาดหัว (Headline), รูปภาพ (Photo), ข้อความกระตุ้น (Call To Action) และ การออกแบบ Landing Page ให้มีความสอดคล้องกันกับตัวโฆษณา


  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...