แนวทางการปฏิบัติของ Green Logistics สามารถแบ่งได้เป็น 6 แนวทาง ได้แก่
1. การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Model Shift) คือ การเปลี่ยนรูปแบบ การขนส่งสินค้าจากรูปแบบที่มีการปลดปล่อยมลภาวะสูง เช่น การขนส่งทางถนน ด้วยรถบรรทุก ไปสู่รูปแบบการขนส่งสินค้าที่ปลดปล่อยมลพิษน้อยกว่า เช่น การขนส่งทางรางด้วยรถไฟ
2. การขนส่งสินค้าร่วมกัน (Joint Transportation) คือการปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง โดยการรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการ หลายรายเข้าด้วยกัน เพื่อให้ลดพื้นที่ว่างในการขนส่งสินค้าในแต่ละครั้ง รวมทั้งลดการขนส่งเที่ยวเปล่าและการบรรทุกสินค้าให้เต็มรถ แต่ก็ต้องไม่เกินพิกัดน้าหนักที่กฎหมายกำหนด เพราะการที่รถบรรทุกน้ำหนักเกินพื้นถนนรองรับได้ก็ถือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
3. การรวมและการจัดวางตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า คือการจัดวางตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า เพื่อลดระยะทางในการขนส่งและรอสินค้า ของผู้ซื้อหรือผู้ส่ังออเดอร์ท้ังหมด และลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า ซึ่งจะทำให้การปลดปล่อยมลพิษจากการขนส่งสินค้าลดลงตาม ระยะเวลาที่ขนส่งด้วย
4. เทคโนโลยี คือการใช้เทคโนโลยีในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้ยานพาหนะ ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ดักจับ มลพิษจากท่อไอเสีย เน้นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล และปรับเปลี่ยนบรรจุ ภัณฑ์จากกระดาษมาเป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
5. โครงสร้างพื้นฐาน คือการสร้างและการดูแลบำรุงรักษา ฟื้นฟูสภาพโครงสร้าง พื้นฐานคมนาคมขนส่ง เช่น ถนน สถานีขนส่งสินค้า สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าในภาพรวมเป็นได้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
6.นโยบายภาค
รัฐ การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ คือการออกนโยบายและ
การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างภาครัฐของประเทศต่างๆ เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษในภาคการขนส่ง ท้ังการขนส่งสินค้าและ
การขนส่งผู้โดยสาร
เว็บบริษัท : groupthailand.com/tracking.php
ที่มา: https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_477Green_Logistic.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น