1.กลยุทธ์การจัดการยานพาหนะให้เหมาะสม
ผู้ประกอบการต้องสังเกตุว่าพาหนะที่ใช้ในการขนส่งเป็นอย่างไร ถ้าเราขนส่งสินค้าขนาดเล็กในเขตพื้นที่ที่ไม่ไกลจากจุดต้นทางมากนัก ในรัศมีประมาณ 1 กิโลเมตร หากเป็นไปได้การหยิบจักรยานมาใช้ก็จะทำให้ลดค่าน้ำมันไปได้ แต่ถ้าหากเกินกว่านั้นอาจจะต้องใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์ก็สามารถทำได้ ซึ่งในอนาคตเราอาจใช้โดรนในการขนส่งสินค้าแทนแบบ amazon และ 7-Eleven ก็เคยทำมาแล้วทำให้ประหยัดขึ้นไปอีก ดังนั้นผู้ประกอบต้องคำนึงเรื่องยานพาหนะเป็นหลัก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งให้ดีมากยิ่งขึ้น
2.กลยุทธ์การบริหารจัดการเชื้อเพลิง
วิธีนี้เราต้องเปลี่ยนกลยุทธ์เชื้อเพลิงใหม่ โดยปรับเปลี่ยนพลังงานที่ใช้ในการขนส่งจากน้ำมันดีเซล หรือเบนซิน เป็นไบโอดีเซล หรือ ก๊าซ CNG ซึ่งการใช้ก๊าซ CNG นั้นจะประหยัดกว่าการใช้น้ำมันถึง 60-70% แต่การเปลี่ยนแบบนี้อาจจะต้องเสียค่าดูแลรักษารถมากขึ้น ในอนาคตอีกไม่นานเราอาจได้ใช้รถขนส่งแบบชาร์ตไฟฟ้า เหล่าผู้ประกอบการเตรียมศึกษาไว้ได้เลย เปลี่ยนก่อนประหยัดกว่า
3. กลยุทธ์การขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport)
กลยุทธ์นี้เป็นวิธีการขนส่งสินค้าด้วยวิธีการผสมผสานการขนส่งหลายรูปแบบจากสถานที่หนึ่งหรือจากผู้ส่งสินค้าต้นทางไปสู่สถานที่หนึ่ง หรือต่อเนื่องไปจนถึงสถานที่ หรือผู้รับสินค้าปลายทางภายใต้สัญญาหรือผู้รับผิดชอบการขนส่งรายเดียว เป็นการผสมผสานการขนส่งสินค้า เช่น ทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ฯลฯ โดยแนวคิด และเป้าหมายในการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ มุ่งเน้นไปที่การทดแทนการขนส่งทางถนนเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าโดยคำนึงถึงต้นทุนการขนส่งของรูปแบบต่างๆ ให้ประหยัดที่สุด
4.กลยุทธ์ลดการขนส่งเที่ยวเปล่า (Backhauling Management)
การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งด้วยการลดการวิ่งเที่ยวเปล่าเป็นการจัดการการขนส่งที่มีเป้าหมายให้เกิดการใช้ประโยชน์จากยานพาหนะ เพราะการขนส่งโดยทั่วไปเมื่อส่งสินค้าถึงที่หมายแล้ว จะตีรถวิ่งเที่ยวเปล่ากลับมา ซึ่งทำให้ต้นทุนของการประกอบการเพิ่มสูงขึ้นโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นมานี้นับเป็นต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า และผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนเหล่านี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น
5.กลยุทธ์ศูนย์กระจายสินค้า
คลังสินค้าที่ทำหน้าที่ทั้งในฐานะเป็นคลังสินค้า (Warehouse) และเป็นหน่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต (Manufacturer) กับผู้ขายปลีก (Retailers) จะเป็นผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Provider) ในด้านการจัดเก็บสินค้าและการจัดการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปให้กับลูกค้าได้ อย่างทันเวลาและถูกต้องตรงตามความต้องการ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้ คือ การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งของผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายปลีกหรือลูกค้าแต่ละราย ผู้ผลิตสามารถขนส่งมาที่ศูนย์กระจายสินค้าเพียงแห่งเดียว
6.กลยุทธ์ใช้แอปพลิเคชันรถขนส่งเหมาคัน (FULL TRUCK LOAD)
การขนส่งหากผู้ขับขี่มีความชำนาญในพื้นที่ก็จะทำให้การส่งของรวดเร็ว ถึงมือผู้รับอย่างมั่นใจ และประหยัดน้ำมัน กลยุทธ์คือใช้แอปพลิเคชันจองรถขนส่งเหมาคัน ที่ทั้งง่ายและปลอดภัย ทำให้ธุรกิจคุณหมดกังวล อาจจะต้องมีระบบติดตามสถานะงานขนส่งได้แบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดและเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถเลือกรูปแบบการขนส่ง เลือกประเภทรถ และสามารถกำหนดวันเวลาใช้งานได้ด้วยตนเอง โดยรูปแบบการชำระเงินก็มีทั้งแบบเชำระปลายทาง บัตรเครดิต และเป็นเอกสารใบแจ้งหนี้ สามารถจัดการระบบการขนส่ง เพื่อลดงานให้กับผู้ขับและผู้ใช้บริการ ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งให้กับผู้ประกอบการ
ข้อมูลจาก : https://mgronline.com/smes/detail/9620000059851, http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=1034§ion=5&issues=77, https://www.mmthailand.com/, https://blog.giztix.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น