วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566

แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย

 

แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย

ร่งพัฒนาและผลักดันการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และพัฒนาปัจจัยสนับสนุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ยกระดับโครงสร้างขึ้นพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมโสจิสลิกส์ รวมทั้งพัฒนา และเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง​

1.พัฒนาโครงสร้งพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมโลจิสติกส์ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้ครบวงจรอย่างมืออาชีพ

2.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการใช้ประโยชน์ จาก Application หรือ

Platform Online ในการขนส่งสินค้า บริหารจัดการคลังสินค้า และ กิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน


3.พัฒนาการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลด้านโสจิสติกส์ ของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ติตามประเมินผล และวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ


4.การพัฒนาแบบจำลองธุรกิจ (Simulation Model) เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์และเตรียม ความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาดได้ทันต่อสถานการณ์


สนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ B2C (Business to Cosnsumer) ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมืออาชีพ


สนับสนุนการเชื่อมโยงการค้าสู่รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เพื่อขยายโอกาส

ทางการตลาดและสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

(Digital Technology)


ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ

ส่งเสริมผู้ประกอบการในการปรับการบริหารคลังสินค้าให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจแบบ e-Commerce เช่น

1.การบริหารจัดการพื้นที่จัดเก็บสินค้าระหว่างการผลิต (Work in Process) เพื่อตอบสนองการผลิตขั้น

สุดท้ายตามความต้องการของผู้บริโภค

2.การพัฒนาการบริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง (Fulfillment)

3.พัฒนาเครือข่ายศูนย์กระจายสินค้าส่วนภูมิภาค (Regional Distribution) เพื่อตอบสนองความ

ต้องการขนส่งแบบถึงมือผู้รับ (Door-to-Door) ได้ย่างมีประสิทธิภาพ


สร้างเครือข่ายผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยและสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค


1.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทย เข้าร่วมลงทุนและสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการต่างประเทศทั้งใน

ภูมิภาคและอนุภูมิภาค เพื่อขยายฐานการตลาดและสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจ


2.พัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการดำเนินธุรกิจ

นำเข้า-ส่งออก การขนส่ง และกิจกรรมโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ตลอดจนระเบียบและวิธีการปฏิบัติของแต่ละประเทศ


3.ส่งเสริมการปรับรูปแบบการดำเนินกธุรกิจไปสู่แนวศิดเศรษฐกิจแบ่งบัน (Sharing Economy) เพื่อให้เกิด

การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ


4.สนับสนุนมาตรการทางการเงินและทางภาษีให้แก่ผู้ให้บริการโสจิสติกส์ไทยในการลงทุนและสร้างเครือข่ายในต่างประเทศ


เว็บไซต์บริษัท : https://bsgroupthailand.com/news-detail.php?id=58


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  5 ส. หรือ 5S คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบไปด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อลดต้...